Page 34 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 34
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
23
กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด 12.49 ล้านไร่ รองลงมา คือ ภาคเหนือ 11.07 ล้านไร่ ภาค
ตะวันออก 5.06 ล้านไร่ ภาคกลาง 3.11 ล้านไร่ และภาคใต้ 2.31 ล้านไร่
6) ดินดาน สภาพปัญหาที่พบ ได้แก่ ชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบหรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคของดินมา
จับตัวกันแน่นทึบและแข็งเป็นแนวขนานกับหน้าดินที่ความลึกแตกต่างกันไปจนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไช
ของรากพืช การไหลซึมของน้่าและการถ่ายเทอากาศ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต
ของพืชที่ปลูก พบในบางพื้นที่ที่ใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่เตรียมดินปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกพืชไร่ เช่น
อ้อย ข้าวโพดมันและส่าปะหลัง เป็นต้น
7) ดินเหมืองแร่ร้าง หมายถึง ดินที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผ่านการท่าเหมืองแร่ไปแล้ว สภาพปัญหา
ที่พบ ได้แก่ มีเนื้อดินหยาบและไม่เกาะตัว ความสามารถในการดูดซับน้่าและแร่ธาตุอาหารต่่ามาก ขาดแร่
ธาตุอาหารและอินทรียวัตถุส่วนใหญ่พบอยู่ในภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่
ดังนั้นการน่าเอาดินที่มีปัญหามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จึงจ่าเป็นต้องรู้และเข้าใจถึงสภาพ
ปัญหาของดินเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ทรัพยากรดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วและให้ได้ผลตอบแทนในการ
ปลูกพืชอย่างคุ้มค่า
จากมูลเหตุปัญหาของทรัพยากรดินที่ใช้ท่าการเกษตรทั้ง 3 ประการ ก่อให้เกิดการเสื่อมโทรม
ของทรัพยากรดินต่อพื้นที่เกษตรกรรม จนท่าให้พืชที่ปลูกไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดีและได้ผลผลิตในปริมาณ
ต่่า ดังนั้นจึงมีความจ่าเป็นในการรักษาและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดิน โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ
ลงดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อท่าให้พืชที่ปลูกสามารถเจริญเติบโตได้ดีและได้ผลผลิตในปริมาณที่
เหมาะสม การเพิ่มอินทรียวัตถุในดินสามารถกระท่าได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปต่างๆ รายละเอียดเกี่ยวกับ
ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์จะได้กล่าวในล่าดับต่อไป