Page 32 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         21


                         2.3 การนําเอาดินที่มีปัญหามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร

                             ทรัพยากรดินที่มีข้อจ่ากัดบางประการในการน่ามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร  ส่วนใหญ่จะเป็น
                  ดินที่มีปัญหาที่เกิดขึ้นมาจาก 2 สาเหตุ คือ 1) เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งปัญหาของดินเหล่านี้ที่เกิด

                  เนื่องมาจากปัจจัยที่ให้ก่าเนิดดิน  ซึ่งประกอบด้วย วัตถุต้นก่าเนิดดิน คือ หินชนิดต่างๆ ตลอดจนคุณสมบัติ

                  ทางเคมีที่ปะปนอยู่  สภาพพื้นที่  ภูมิอากาศ  พืชพรรณธรรมชาติที่ปกคลุม และระยะเวลาที่เกิดดิน  2) เกิด
                  จากการใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์ หมายถึง ดินที่เกิดจากการปฏิบัติหรือการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสมของ

                  มนุษย์ ได้แก่ การปลูกพืชโดยปราศจากการบ่ารุงรักษาดิน  การปลูกพืชชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน  การ
                  ท่าลายป่าเพื่อการเกษตร  การเผาป่าหรือไร่นา  การใช้สารเคมีทางการเกษตรจนเกิดผลตกค้างในดิน  การใช้

                  เครื่องจักรกลเกษตรขนาดใหญ่ทั้งหลายเหล่านี้เป็นตัวเร่งท่าให้ดินเกิดการเสื่อมโทรม  เกิดการสะสมธาตุ
                  อาหาร  สารเคมีชนิดต่างๆ จนเป็นพิษต่อพืช  มีโครงสร้างของดินอัดแน่นทึบเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต

                  ของพืช  โดยมีรายละเอียดดังรายงานกรมพัฒนาที่ดิน (2558ข) ดังนี้

                             1) ดินเปรี้ยวจัด  สภาพปัญหาที่พบ ได้แก่ ดินเป็นกรดจัดมากมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของ
                  ดินต่่ากว่า 4.5  มีอะลูมินัม  เหล็ก  แมงกานีสและซัลไฟด์ ละลายออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก

                  ขาดแคลนธาตุอาหารไนโตรเจนและฟอสฟอรัส  บริเวณพื้นที่ลุ่มต่่าน้่าท่วมขัง  และโครงสร้างดินแน่นทึบท่าให้

                  ดินมีการระบายน้่าเลว  เนื้อดินเป็นดินเหนียวถึงเหนียวจัดเมื่อดินแห้งจะแข็งและแตกระแหงท่าให้ไถพรวน
                  ยาก  ยับยั้งกิจกรรมของจุลินทรีย์ในการย่อยสลายอินทรียวัตถุและตรึงไนโตรเจน  พบมากในพื้นที่ของภาค

                  กลาง 3.19 ล้านไร่  ภาคตะวันออก 0.89 ล้านไร่ และภาคใต้ 1.49 ล้านไร่
                             2) ดินอินทรีย์  สภาพปัญหาที่พบ ได้แก่ ในชั้นดินอินทรีย์จะมีกรดฮิวมิค  ส่วนใต้ชั้นดินอินทรีย์ที่

                  ระดับความลึกประมาณ 80 - 300 เซนติเมตร  เป็นดินเลนตะกอนน้่าทะเลสีเทาปนน้่าเงิน  มีสารประกอบก่ามะถัน
                  อยู่มาก  เมื่อมีการระบายน้่าออกไป  ดินแห้งและสัมผัสกับอากาศเกิดเป็นกรดก่ามะถัน  ท่าให้ดินมีสภาพเป็นกรด

                  รุนแรงมาก  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินน้อยกว่า 4.5  นอกจากนี้ดินอินทรีย์จะยุบตัว  ติดไฟง่ายแต่ดับยาก

                  ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่โดยการระบายน้่าออกจากพรุมากเกินไป  จะท่าให้ดินมีสภาพเป็นกรดได้ใน
                  ภายหลังและเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้  ท่าให้พื้นที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้  การจัดการดินท่าได้ล่าบากและเสียค่าใช้จ่าย

                  สูง  ในขณะเดียวกันถ้าน่ามาปลูกไม้ยืนต้น  ต้นไม้ล้มง่ายเนื่องจากดินอินทรีย์มีความสามารถในการรับน้่าหนัก
                  ได้น้อย  นอกจากนี้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร  ท่าให้พืชแสดงขาดธาตุอาหาร เช่น ไนโตรเจน

                  ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม  แคลเซียม  โบรอน และทองแดง  เกิดความเป็นพิษของเหล็กและอะลูมินั่ม  และ

                  ขาดแคลนแหล่งน้่าจืด  พบในบริเวณที่ลุ่มน้่าขังชายฝั่งทะเลของภาคใต้และภาคตะวันออก  มีพื้นที่ประมาณ
                  0.34 ล้านไร่  ประกอบด้วย กลุ่มดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนา 40 - 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่

                  57 และกลุ่มดินที่มีชั้นวัสดุอินทรีย์หนามากกว่า 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 58
                             3) ดินเค็ม  สภาพปัญหาที่พบ ได้แก่ เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหาร  มีความเป็นพิษของธาตุ

                  โซเดียมและคลอไรด์และขาดธาตุไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  โพแทสเซียม  เหล็ก  แมงกานีส  ทองแดง สังกะสี

                  และโคบอลท์  พืชที่ปลูกไม่เจริญเติบโตมีล่าต้นแคระแกร็น  ให้ผลผลิตต่่า  ดินมีโครงสร้างแน่นทึบ  ท่าให้เป็น
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37