Page 157 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 157

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        146


                  และใส่เศษพืชที่เหลือจากการเก็บเกี่ยว 0.48  –  1.6  ตันต่อไร่ (Bouldin  et  al.,  1984;  Eghball  et  al.,

                  2004)
                               5.2.2 ปุ๋ยหมัก ที่ผลิตได้จากซากพืชต่างชนิด และด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน มีความเข้มข้นของ

                  ธาตุอาหารแต่ละธาตุแตกต่างกันมากเช่นเดียวกัน  จึงควรน่าไปวิเคราะห์ทางเคมี  เพื่อทราบความเข้มข้นของ

                  ธาตุหลัก ธาตุรอง และจุลธาตุในปุ๋ยหมัก ซึ่งท่าให้สามารถน่าปุ๋ยหมักไปใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ถูกต้อง
                  ข้อมูลทั่วไปด้านธาตุอาหารในปุ๋ยหมักมีในบทที่ 5

                          ส่าหรับปุ๋ยหมักและอินทรียสารอื่นๆ ที่อนุญาตให้ใช้ได้ในระบบเกษตรอินทรีย์ มีดังนี้ 1) ปุ๋ยหมักที่ได้
                  จากการหมักเศษซากพืช ฟาง ข้าว ขี้เลื่อย เปลือกไม้ เศษไม้ และวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรอื่นๆกับปุ๋ยคอก

                  ถ้าจะมีการเติมสารอนินทรีย์ที่ให้ธาตุอาหารลงไปด้วย เช่น หินฟอสเฟต จะต้องเป็นสารที่อนุญาตให้ใช้ได้  2)
                  ของเหลือใช้จากกระบวนการในโรงงานฆ่าสัตว์  โรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานน้่าตาล  โรงงานมัน

                  ส่าปะหลัง โรงงานน้่าปลา  โดยกระบวนการเหล่านี้ต้องไม่เติมสารสังเคราะห์ และจะต้องได้รับการรับรอง

                  อย่างเป็นทางการ และ 3) ของเหลวจากระบบน้่าโสโครกของโรงงาน ที่ผ่านกระบวนการหมักโดยไม่เติมสาร
                  สังเคราะห์ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม  ต้องมีหลักฐานยืนยันว่าไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักและสาร

                  ต้องห้ามตามหลักเกณฑ์ของเกษตรอินทรีย์ (Stoffella  et  al.,  1997)    ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ที่ห้ามใช้คือ 1)  ปุ๋ย

                  เทศบาลหรือปุ๋ยหมักในเมือง และ 2) กากตะกอนโสโครกห้ามใช้กับพืชผัก
                              ส่าหรับน้่าหมักที่ผลิตจากพืชและสัตว์ และผลิตภัณฑ์จากพืชและสัตว์ที่ไม่มีการปนเปื้อนของสาร

                  ต้องห้ามอนุญาตให้ใช้ได้  จากบทที่ 7 ที่กล่าวมาแล้วว่า น้่าหมักมีปริมาณธาตุอาหารต่่าและมีความแปรปรวน
                  สูง  เนื่องจากใช้วัตถุดิบและวิธีการหมักที่แตกต่างกัน  เมื่อน่ามาเจือจางประมาณ 500 เท่าแล้วฉีดพ่นทางใบ

                  หรือราดลงดิน  พืชจะได้รับธาตุอาหารแต่ละธาตุน้อย  จึงไม่ถือว่าเป็นแหล่งส่าคัญของธาตุอาหารส่าหรับพืช
                  แต่มีสารที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช เช่น กรดฮิวมิก  ฮอร์โมนและเอนไซม์  ซึ่งช่วยเร่งการ

                  เจริญเติบโตของรากพืช  การขยายตัวของใบรวมถึงการยืดตัวของล่าต้น  ชักน่าให้เกิดการงอกของเมล็ด  และ

                  ส่งเสริมการออกดอกและติดผลดีขึ้นแต่น้่าหมัก  ดังนั้น การน่าน้่าหมักไปใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์  สามารถ
                  ช่วยในการเจริญเติบโตและผลผลิตได้

                              5.2.3 ปุ๋ยพืชสด  ซึ่งการใช้พืชตระกูลถั่วมีความส่าคัญมากเพราะเป็นแหล่งธาตุไนโตรเจนให้แก่
                  ดินที่ส่าคัญมาก  เพราะพืชปุ๋ยสดมีไรโซเบียมที่ปมรากที่มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนในอากาศให้แก่ดิน

                  นอกจากนี้ยังดูดธาตุอาหารจากดินมาสะสมไว้ในต้นและราก  แล้วปลดปล่อยให้พืชหลักภายหลังการไถกลบ

                  ดังรายละเอียดในบทที่ 5    โดยสามารถน่าไปใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ดีในการปลูกพืชหมุนเวียน เช่น
                  อัลฟัลฟาให้ 24 – 32 กิโลกรัมNต่อไร่  ถั่วเหลืองให้ 9.6 กิโลกรัมNต่อไร่  การปลูกพืชหมุนเวียนด้วยระบบ

                  ข้างโพด-ถั่วเหลือง-ข้าวโพด-ข้าวโอ๊ต – อัลฟัลฟา – อัลฟัลฟา – อัลฟัลฟา นั้น  ถ้าอัลฟัลฟาให้ไนโตรเจนปีละ
                  24  กก.  และถั่วเหลืองให้ปีละ 9.6  กก.  ไนโตรเจนที่เพิ่มลงไปจากการตรึงไนโตรเจนในรอบ 7  ปี จะสูงถึง

                  81.6  กิโลกรัมต่อไร่  หากคิดเฉพาะช่วงเวลา 4  ปีที่ปลูกถั่วเหลืองและอัลฟัลฟาแล้ว  จะได้ไนโตรเจนปีละ

                  20.4  กิโลกรัมต่อไร่
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162