Page 154 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 154

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        143


                         3) การไถกลบเศษพืช เช่น การไถกลบตอซังข้าว ข้าวโพด หรือวัชพืช  วิธีนี้ไม่สามารถก่าหนดอัตราได้

                  เพราะปริมาณชีวมวลของเศษพืชที่ไถกลบแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก  ความมากน้อยของส่วนที่
                  ตกค้างในแปลงหลังเก็บเกี่ยว  รวมทั้งปริมาณของวัชพืชในแปลงด้วย

                         ดังนั้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระบบเกษตรอินทรีย์  คือ การน่าปุ๋ยอินทรีย์ใส่ลงดินที่ปลูกพืชอินทรีย์

                  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินให้สูงขึ้นหากปริมาณที่มีอยู่เดิมไม่สูงพอ  โดยพยายามเพิ่มขึ้น
                  ประมาณปีละ 0.5 เปอร์เซ็นต์ จนได้ไม่น้อยกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์  แต่ถ้าสามารถเพิ่มได้ถึง 3.0 เปอร์เซ็นต์ ได้ก็

                  จะมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง  โดยควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ทุกปีเพื่อชดเชยส่วนที่สลายไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา  ถ้า
                  รักษาอินทรียวัตถุในดินระดับนี้ไว้อย่างต่อเนื่อง  ก็นับได้ว่าปรับปรุงดินจนมีศักยภาพสูงในการปลดปล่อยธาตุ

                  อาหารต่างๆ ออกมาอย่างเพียงพอกับความต้องการของพืชรากตื้นส่วนมาก ซึ่งต้องยืนยันด้วยผลการวิเคราะห์
                  ระดับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดิน  อันประกอบด้วยธาตุหลัก ธาตุรอง จุลธาตุ จึงจะมีความเชื่อมั่นว่า

                  เพียงพออย่างแท้จริง  ก่อนการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน  ควรประเมินระดับอินทรียวัตถุในดิน แล้วจึงก่าหนด

                  เป้าหมายการเพิ่ม และจัดหาปุ๋ยอินทรีย์ (ประเสริฐ, 2543) มี 2 ขั้นตอน ดังนี้
                         4.1 การวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน

                             อินทรียวัตถุในดิน คือ ส่วนที่เป็นอินทรียสารในดิน  ซึ่งประกอบด้วย เศษซากพืชหรือสัตว์ที่ผ่าน

                  การย่อยสลายไปแล้ว  เซลล์และเนื้อเยื่อของจุลินทรีย์และอินทรียสารต่างๆ ซึ่งจุลินทรีย์สังเคราะห์ขึ้น  ในการ
                  วิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุในดินที่มีในดินบน (0 – 15 เซนติเมตร) ในพื้นที่ 1 ไร่  ต้องทราบค่าความ

                  หนาแน่นรวมของดินและค่าปริมาณอินทรียวัตถุในดิน  โดยได้จากเก็บตัวอย่างของดินบนในพื้นที่เป้าหมาย
                  และน่าส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์หาปริมาณอินทรียวัตถุจากห้องปฏิบัติการทางเคมี  ซึ่งการค่านวณหา

                  ปริมาณอินทรียวัตถุในดินบนในพื้นที่ 1 ไร่  ดังรายละเอียดที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 2  ซึ่งสามารถแสดงปริมาณ
                  อินทรียวัตถุในดินบนในพื้นที่ 1 ไร่ ที่มีอินทรียวัตถุ 0.5 – 4.0 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณอินทรียวัตถุที่ต้องการ

                  เพิ่มเพื่อให้ถึงระดับที่ต้องการ ดังตารางที่ 8.2  ดังนั้น การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้ถึงระดับที่ต้องการได้

                  สามารถท่าได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
                           4.2 การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินโดยปุ๋ยอินทรีย์

                              การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้ถึงระดับที่ต้องการได้  สามารถท่าได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์  เช่น
                  การเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินจากระดับ 1.0 เป็น 1.5 เปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้น  สามารถท่าได้โดยการใช้ปุ๋ย

                  อินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกเป็นวิธีการที่สามารถเพิ่มอินทรียวัตถุในดินสู่ระดับต้องการ  เพราะสามารถ
                  ก่าหนดอัตราการใส่ที่แน่นอน  ส่วนการปลูกพืชปุ๋ยสดและไถกลบเศษพืชเป็นวิธีการที่สามารถเพิ่มอินทรียวัตถุ

                  ในดินได้  แต่อาจจะไม่ตรงกับระดับความต้องการ  ดังนั้นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินสู่ระดับที่ต้องการ

                  สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ การค่านวณหาปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ต้องใส่ลงในดิน  เพื่อ
                  เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินสู่ระดับที่ต้องการ  ต้องค่านึงถึงเรื่องเปอร์เซ็นต์ความชื้นของปุ๋ยอินทรีย์

                  เนื่องจากต้องค่านวณออกมาเป็นน้่าหนักแห้ง และปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ที่จะลดลงเนื่องจากมีการสลายตัวก่อน

                  จะเป็นอินทรียวัตถุในดิน
                              ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินบนจาก 1.0 เป็น 1.5 เปอร์เซ็นต์  ด้วยการ

                  ใช้ปุ๋ยหมักที่มีความชื้น 30 เปอร์เซ็นต์  และการแปรสภาพของปุ๋ยหมักจนเป็นอินทรียวัตถุในดินน้่าหนักปุ๋ย
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159