Page 153 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 153

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        142


                  ตารางที่ 8.1 ระดับอินทรียวัตถุที่ใช้เป็นมาตรฐานและปริมาณอินทรียวัตถุแต่ระดับในดินบน (0 – 15 ซม.)

                                 ซึ่งมีความหนาแน่นรวม 1.3 กรัม/ลบ.ซม.

                              ระดับ                     อินทรียวัตถุ (%)             อินทรียวัตถุ (กก./ไร่)


                             ต่่ามาก                         < 0.5                         < 1,560


                               ต่่า                        0.5 –<1.0                   1,560 – <3,120

                           ต่่าปานกลาง                      1.0 – 1.5                   3,120 – 4,680


                            ปานกลาง                         1.6 – 2.5                   4,992 – 7,800


                           สูงปานกลาง                       2.6 – 3.5                  8,112 – 10,920


                               สูง                          3.6 – 4.5                  11,232 – 14,040


                             สูงมาก                            >4.5                       >14,040

                  ที่มา: ยงยุทธและคณะ (2551)

                         ดินที่ใช้ปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์  จึงต้องบ่ารุงด้วยปุ๋ยอินทรีย์จนกระทั่งมีอินทรียวัตถุอยู่ใน

                  เกณฑ์ค่อนข้างสูง  โดยมีค่า 2.6  –  3.5  เปอร์เซ็นต์ เป็นอย่างน้อย  ซึ่งมีผลท่าให้ดินมีสภาพที่เหมาะสม 3

                  ประการ คือ
                         1) สามารถปลดปล่อยธาตุหลัก ธาตุรอง และจุลธาตุ ให้แก่พืชที่ปลูกอย่างเพียงพอ  และสมดุลใน

                  ลักษณะต่อเนื่อง (Sanchez et al., 2006)  โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีใดๆ แต่ใช้ได้เฉพาะสารที่อนุญาต
                         2) มีสมบัติทางกายภาพเหมาะสม เช่น การอุ้มน้่า การระบายน้่า และการถ่ายเทอากาศดี  เนื่องจาก

                  มีดินมีโครงสร้างดีและมีเสถียรภาพ  ตลอดจนไม่แน่นทึบ  เป็นสภาพที่เอื้อต่อการไชชอนของรากทั้งแนวดิ่ง
                  และแนวราบ  เพื่อดูดธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์  น้่าและอากาศในชั้นดินได้กว้างและลึก

                         3) มีสมบัติทางเคมี เช่น ความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออน และความจุบัฟเฟอร์สูง  ดินจึงมี

                  ความสามารถดูดซับธาตุอาหารพวกแคตไอออนได้มาก  และต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพกรดด่าง
                  ในดินได้ดีขึ้น

                  4. หลักการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

                         หลักการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินควรท่ามี 3 วิธี ร่วมกัน คือ
                         1) ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก  วิธีนี้สามารถก่าหนดอัตราการใส่ได้

                         2) การปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง และโสนอัฟริกัน  เพื่อท่าการสับกลบเป็นปุ๋ยพืช

                  สด  วิธีนี้ไม่สามารถก่าหนดอัตราได้เพราะปริมาณของชีวมวลที่ได้แต่ละครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและอายุพืช
                  ปุ๋ยสด  การไถกลบปุ๋ยพืชสดที่เนื้อเยื่อพืชมีลิกนินน้อย และสลายง่าย จะปลดปล่อยธาตุอาหารได้เร็วแต่เพิ่ม

                  อินทรียวัตถุในดินน้อย
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158