Page 156 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 156

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        145


                         5.2 ปริมาณธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยอินทรีย์แต่ละชนิด

                             ส่าหรับอินทรียวัตถุในดินมี 3 ส่วน คือ 1) อินทรียวัตถุเดิมที่มีในดินก่อนปลูกพืช  2) มาจากการ
                  สลายของซากพืชที่ปลูกในฤดูก่อน  และ 3)  ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ในการปลูกพืช  โดยปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่นอกจากเพิ่ม

                  ปริมาณอินทรียวัตถุในดินแล้ว  ยังช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารด้วย  โดยปริมาณธาตุอาหารของปุ๋ยอินทรีย์แต่

                  ละชนิดมีดังนี้



                                   ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต                    โปรตีนในปุ๋ยอินทรีย์


                                        (NH ) SO                          (สารประกอบโมเลกุล
                                           4 2
                                                4
                                                                                 ใหญ่)
                                             ละลาย แตกตัว                            ย่อยสลายด้วยกิจกรรมของ
                                                                                           จุลินทรีย์ดิน
                                                                                    2-
                                                              +
                                         แอมโมเนียมไอออน (NH ) และซัลเฟตไอออน (SO )
                                                                                    4
                                                              4


                                            ไนเตรตไอออน (NO )
                                                             -
                                                            3

                                                             2-
                                                     -
                                               +
                                      พืชดูด NH   NO  และSO  ไปสร้างโปรตีนและสารประกอบอื่นๆ
                                              4
                                                    3
                                                            4


                                  ภาพที่ 8.1  เปรียบเทียบรูปของธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์
                                                           ที่มา: ยงยุทธและคณะ (2551)
                              5.2.1 ปุ๋ยคอก  เนื่องจากปุ๋ยคอกแต่ละแหล่ง  มีความเข้มข้นของธาตุอาหารแต่ละธาตุแตกต่าง

                  กันมาก  หากต้องการทราบข้อมูลที่แท้จริง  ควรน่าไปวิเคราะห์ทางเคมี  เพื่อทราบความเข้มข้นของธาตุหลัก
                  ธาตุรอง และจุลธาตุในปุ๋ยคอก  ซึ่งท่าให้สามารถน่าปุ๋ยหมักไปใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์ได้ถูกต้อง  ข้อมูล

                  ทั่วไปด้านธาตุอาหารในปุ๋ยคอกอยู่ในบทที่ 4  ส่าหรับปุ๋ยคอกที่ใช้ในระบบเกษตรอินทรีย์  ถ้าเป็นมูลสัตว์ปีก

                  ต้องได้มาจากการเลี้ยงแบบธรรมชาติ  ไม่มีการทรมานสัตว์  อาหารที่ใช้เลี้ยงต้องไม่เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรม
                  และไม่มีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต  ส่วนอุจจาระและปัสสาวะของคนที่หมักแล้วให้ใช้กับพืชที่มิได้เป็น

                  อาหารของมนุษย์ เช่น พืชพลังงาน ฝ้าย
                               เนื่องจากปุ๋ยคอกมีองค์ประกอบแตกต่างกันมาก  ความเป็นประโยชน์ของไนโตรเจนในปุ๋ยจึง

                  แตกต่างกัน กล่าวคือ ไนโตรเจนในปุ๋ยคอกสดเป็นประโยชน์ 1 - 50 เปอร์เซ็นต์   ส่วนในปุ๋ยคอกที่สลายดีแล้ว
                  ไนโตรเจนที่จะปลดปล่อยออกมาเป็นประโยชน์ 10  -  20  เปอร์เซ็นต์  การใส่ปุ๋ยคอกในดินด้วยอัตราที่

                  เหมาะสมต่อเนื่องกันหลายปีจะช่วย  1) เพิ่มอินทรีย์คาร์บอนและไนโตรเจน  2) เพิ่มมินเนอราลไลเซชันของ

                  ไนโตรเจน  3)  เพิ่มความพรุนและลดความหนาแน่นรวมของดิน และ 4)  เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน
                  เกษตรกรที่ปลูกพืชด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ในสหรัฐอเมริกาส่วนมาก   ใช้ปุ๋ยคอก 0.48  –  1.76  ตันต่อไร่
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161