Page 159 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 159

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        148


                  เฉลี่ย 30 และ 313 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ  2) การใช้ระบบข้าวโพด-ถั่วเหลือง-ข้าวโอ๊ต ร่วม

                  กับอัลฟัลฟา  และ 3) การใช้ป๋ยหมักจากมูลสุกรกับตอซังข้าวโพด  ซึ่งมีธาตุหลัก คือ 7.8 กรัมNต่อกิโลกรัม
                  9.6 กรัมPต่อกิโลกรัม และ 13.7 กรัมKต่อกิโลกรัม  โดยอัตราปุ๋ยหมักที่ใช้ค่านวณเป็นกิโลกรัมNต่อไร่  โดยใน

                  ปีแรกใช้อัตรา 28 กิโลกรัมNต่อไร่  ส่วนปีที่ 2-4 ใช้ปีละ 21.4 กิโลกรัมNต่อไร่  ผลการทดลองสรุปได้ว่า ทั้ง

                  ข้าวโพดและถั่วเหลืองที่ปลูกระบบเกษตรอินทรีย์ในช่วงเปลี่ยนแปลง 3 ปี และ 1 ปีที่เป็นเกษตรอินทรีย์เต็ม
                  รูปแบบนั้น  ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับการปลูกและบ่ารุงดินแบบปรกติ  ซึ่งให้ยูเรีย-แอมโมเนียมไนเทรตอัตรา

                  21.4 กิโลกรัมNต่อไร่  เช่นเดียวกัน
                         ส่าหรับด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้น พบว่า การบ่ารุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และใช้ระบบการปลูก

                  พืชหมุนเวียนตามที่ระบุไว้  ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วง 3 ปีแรก ดังนี้คือ อินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดใน
                  ดินบนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 (จาก 21.4 กรัมCต่อกิโลกรัม ในปีที่ 3)  นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระบบการปลูก

                  พืชหมุนเวียน ยังช่วยให้ความหนาแน่นรวมของดินต่่า คือ ค่า 1.22 – 1.25 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น

                  ผลการเปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ของดินระหว่างปีที่ 1 และปีที่ 4 แสดงไว้ในตารางที่ 8.3

                  ตารางที่ 8.3 เปรียบเทียบความอุดมสมบูรณ์ของดินในแปลงทดลองปลูกพืชหมุนเวียนในระบบเกษตร

                             อินทรีย์ในปีที่ 1 (พ.ศ. 2541) กับปีที่ 4 (พ.ศ. 2544) ในเรื่องอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมด
                             (TOC) ไนโตรเจนทั้งหมด (TN) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม

                             (Ca) และแมกนีเซียม (Mg) ที่แลกเปลี่ยนได้ของดินระดับความลึก 0-15 ซม.


                  ผลการวิเคราะห์            พ.ศ.      C-S*       C-S-O/A*         C-S-O/A-A*         S-R*


                  TOC (ก./กก.)             2541       23.8          25.0              24.6           23.4

                                           2544       24.9          26.3              26.1           25.7
                  TN (ก./กก.)              2541        1.7          1.7                1.8            1.9

                                           2544        2.2          2.3                2.4            2.3

                  P (มก./กก.)              2541        35            51                45             28
                                           2544        40            85                61             34

                  K (มก./กก.)              2541       331           361               355             248
                                           2544       267           308               320             215

                  Ca (มก./กก.)             2541      2,973         2,972             3,131           3,241
                                           2544      3,297         3,657             3,740           3,831

                  Mg (มก./กก.)             2541       294           281               270             336

                                           2544       308           315               340             389


                  *C= ข้าวโพด, S = ถั่วเหลือง, O= ข้าวโอ๊ต, A= อัลฟัลฟา, R= ข้าวไรต์
                  ที่มา :  Delate and Cambradella (2004)
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164