Page 160 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 160

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        149


                         หากน่าค่าความเข้มข้นของอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดและไนโตรเจนทั้งหมด มาแปลงเป็นปริมาณที่ดิน

                  ได้รับต่อพื้นที่ (กิโลกรัมCต่อไร่)  ในช่วงการเปลี่ยนแปลง 3 ปี และเป็นเกษตรอินทรีย์แล้วอีก 1 ปี รวมเป็น 4
                  ปีนั้น  การปลูกพืชหมุนเวียนในระบบเกษตรอินทรีย์ได้เพิ่มอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมด 864 กิโลกรัมCต่อไร่ และ

                  ไนโตรเจนทั้งหมด 73.1 กิโลกรัมNต่อไร่  หรือเพิ่มไนโตรเจนทั้งหมดเฉลี่ย 18.2 กิโลกรัมNต่อไร่ต่อ  ซึ่งถือว่า

                  เพียงพอที่จะรักษาระดับไนโตรเจนในดินไว้
                         จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า การบ่ารุงดินด้วยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์  การใช้ระบบการปลูกพืช

                  หมุนเวียน และการไถพรวนเท่าที่จ่าเป็น  สามารถปรับเปลี่ยนให้เกิดระบบเกษตรอินทรีย์ได้  โดยมีข้อการ
                  ปฏิบัติ ดังนี้คือ

                         1.  ควรท่าการเก็บดินในพื้นที่ที่จะท่าเกษตรอินทรีย์  มาวิเคราะห์ดินหาปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                  เพื่อหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์

                         2. การใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก  สามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้เหมาะสมกับระบบเกษตรอินทรีย์

                  ได้ทันที่  แต่ต้องใช้ปริมาณมากและลงทุนสูง  ดังนั้น จึงควรค่อยๆ เพิ่มอินทรียวัตถุในดินในปริมาณที่
                  เหมาะสม  โดยอาจเพิ่มอินทรียวัตถุในดินบนความลึก 15 เซนติเมตร ปีละ 1.0 เปอร์เซ็นต์  โดยต้องใส่ปุ๋ย

                  หมักหรือปุ๋ยคอกแห้ง อัตรา 3,120  กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 1.95 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ทุกๆปี  ดัง

                  รายละเอียดบทที่ 4 และ 5
                         3)  อาศัยพืชตระกูลถั่ว (ปุ๋ยพืชสด)  ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช  โดยเฉพาะ

                  อย่างยิ่งการเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนในดิน ดังรายละเอียดบทที่ 6
                         4)  สามารถใช้ปุ๋ยชีวภาพในการช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ระบบการเกษตรอินทรีย์  ได้แก่ ใช้ปุ๋ย

                  ชีวภาพประเภทจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนอากาศ ได้แก่ จุลินทรีย์ที่มีภาวะอยู่ร่วมกันกับสิ่งมีชีวิต เช่น ไรโซเบียม
                  และจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนที่ด่ารงแบบอิสระ เช่น Azotobacter sp.  แหนแดง เป็นการเพิ่มธาตุไนโตรเจน

                  ให้แก่พืช และใช้ปุ๋ยชีวภาพประเภทจุลินทรีย์ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ จุลินทรีย์ที่ช่วยละลายธาตุ

                  อาหารและช่วยให้พืชดูดใช้ง่าย เช่น เชื้อไรโซแบคทีเรียเร่งการเจริญเติบโตของพืช เรียกว่า PGPR   และ
                  จุลินทรีย์ที่ช่วยในการดูดธาตุอาหาร เช่น ไมคอร์ไรซา (ยงยุทธและคณะ, 2551)

                         5)  ในกรณีที่ธาตุอาหารบางธาตุมีปริมาณต่่าไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช  อาจต้องใส่แร่
                  ธรรมชาติหรือสารที่อนุญาตให้ใช้ได้ ดังตารางที่ 8.4  เพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่ดินยังขาด เช่น ดินขาดธาตุ

                  ฟอสฟอรัสก็สามารถใช้หินฟอสเฟตบดได้  โดยใส่อัตราที่เหมาะสมและวิธีการที่ถูกต้อง

                         6)  มีการไถพรวนเท่าที่จ่าเป็น และไถตื้นๆ  เพื่อให้เศษซากพืชส่วนมากกระจายอยู่ตามผิว  การไถ
                  เพียงตื้นๆ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย  ซากพืช และท่าพืชปุ๋ยสด เป็นการสะสมชิ้นส่วนของอินทรียสารที่อุดมด้วยธาตุ

                  อาหารไว้บริเวณผิวดิน  ซึ่งมีผลต่อเนื่องอีกหลายประการ เช่น ลดการระเหยน้่าจากผิวดิน  ความชื้นในดินจึง
                  ลดลงช้า  ขณะที่อุณหภูมิดินต่่ากว่าสภาพทั่วไปเล็กน้อย  ด้วยเหตุนี้เองสภาพแวดล้อมจุลภาคที่ผิวดินซึ่งใช้

                  เทคนิคด้านเกษตรอินทรีย์จึงดีกว่าปฏิบัติทั่วไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความชื้นดิน และการกระจายของ

                  สารประกอบคาร์บอนและไนโตรเจน  ซึ่งจ่าเป็นอย่างยิ่งต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน  ซึ่งการไถพรวนน้อยที่สุด
                  เท่าที่จ่าเป็น นอกจากจะช่วยอนุรักษ์เศษซากพืชและอินทรียวัตถุในชั้นดินบนแล้ว ยังเพิ่มจ่านวนจุลินทรีย์ชนิด

                  ต่างๆ บริเวณผิวดินระดับ 0-7.5 ซม. อีกด้วย ดังตารางที่ 8.5  ด้วยเหตุนี้การปลูกพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ที่
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165