Page 158 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 158

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        147


                               ซึ่งการปลูกพืชหมุนเวียนในระบบเกษตรอินทรีย์มี 2 ระบบคือ

                                1)  ระบบปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ (stocked  rotation)  ระบบนี้มีการปลูกธัญพืช พืชตระกูลถั่ว
                  พืชอาหารสัตว์ และเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไป  จึงได้รับไนโตรเจนจากการปลูกพืชตระกูลถั่ว  การพรวนกลบซาก

                  พืช และมูลสัตว์

                                2)  ระบบปลูกพืชโดยไม่เลี้ยงสัตว์ (stockless  rotation)    ระบบนี้อาจต้องน่าปุ๋ยคอกจาก
                  ภายนอกมาบ่ารุงดิน เพิ่มเติมจากการใช้พืชแทรกในระบบที่ด่าเนินการอยู่แล้ว

                         ดังนั้นในระบบปลูกพืชตระกูลถั่วและเลี้ยงสัตว์นี้  ธาตุอาหารส่าหรับพืชจึงได้มาจาก 3 แหล่งคือ ปุ๋ย
                  อินทรีย์จากภายนอกหรือภายใน  ไนโตรเจนที่ได้มาจากการปลูกพืชตระกูลถั่ว  และการพรวนกลบซากพืช

                  (ยงยุทธและคณะ,2551)

                  6. ประโยชน์จากการคืนซากพืชลงไปในดิน

                         การเตรียมดินในระบบเกษตรอินทรีย์นั้นมักใช้วิธีไถตื้น ดังนั้นซากพืชส่วนมากจึงยังคงอยู่บนผิวดิน

                  และในดินชั้นบน  ซึ่งเกิดผลดีหลายประการ คือ 1) ช่วยเพิ่มไนโตรเจนให้ดินบน  ประกอบกับดินมีเศษซากพืช
                  ปกคลุม การสูญเวียธาตุอาหารโดยการกร่อนของดินจึงเกิดน้อยลง  และ 2) ลดการสูญเสียน้่าจากการระเหยที่

                  ผิวดิน  จึงช่วยรักษาความชื้นที่มีในดินให้เป็นประโยชน์ต่อพืช
                         เมื่อได้การจัดการซากพืชและใส่ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเหมาะสมและต่อเนื่องจะเกิดผลดังนี้คือ 1) ปริมาณ

                  อินทรียวัตถุในดินจะสูงและคงที่  เนื่องจากเกิดภาวะสมดุลระหว่างการสูญเสียคาร์บอนในรูปของแก๊ส

                  คาร์บอนไดออกไซด์กับที่ได้รับกลับคืนจากการไถกลบซากพืชและใส่ปุ๋ยอินทรีย์  2) ไนโตรเจนในอินทรียสารที่
                  ปลดปล่อยออกมาในดินนั้น  ส่วนมากได้ถูกจุลินทรีย์และพืชดูดไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต  บางส่วนสูญหายไป

                  กับการชะล้าง การ  ตลอดจนการสูญเสียในรูปของแก๊ส  จึงจ่าเป็นต้องรักษาสมดุลไว้เช่นเดียวกับคาร์บอน

                  แต่อาจจะต้องเน้นการใช้พืชตระกูลถั่วในระบบพืชหมุนเวียนหรือปลูกเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด (Mubarak  et  al.,
                  2003)


                  7. การบํารุงดินในช่วงการเปลี่ยนแปลง
                         การเริ่มเกษตรอินทรีย์ช่วงเปลี่ยนแปลง  จ่าเป็นต้องมีการปรับระบบเกี่ยวกับการก่าจัดวัชพืช ควบคุม

                  ศัตรูพืช และการไถพรวนที่พอเหมาะ เป็นต้น เพื่อให้ระบบเกษตรอินทรีย์มีเสถียรภาพ  ดังนั้น ผลผลิตที่ได้จึง

                  มักต่่ากว่าในช่วงหลังเมื่อมีระบบมีเสถียรภาพแล้ว  นอกจากนี้ยังต้องสังเกตด้วยว่า ในบางช่วงที่พืช
                  เจริญเติบโตเร็วและใช้ไนโตรเจนมาก  อาจมีปัญหาขาดแคลนธาตุนี้ได้เช่นเดียวกัน  ในกรณีดังกล่าว

                  จ่าเป็นต้องปรับระบบการปลูกพืชหมุนเวียนบ้าง  เช่น เพิ่มความถี่ของการปลูกพืชตระกูลถั่วในระบบ เป็นต้น
                         อย่างไรก็ตามผลผลิตพืชในช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลง อาจใกล้เคียงกับการปลูกและบ่ารุงดินแบบเดิม

                  ก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินเมื่อเริ่มต้น  ระบบการปลูกพืชหมุนเวียน ชนิด และอัตราปุ๋ย

                  อินทรีย์ที่ใช้ จากผลการศึกษาของ Delate  and  Cambradella  (2004)  ในช่วงเวลา 4 ปี คือ ช่วง
                  เปลี่ยนแปลง 3 ปี และเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบ 1 ปี  โดยมีรายละเอียดของวิธีการทดลองดังนี้  1) การใช้

                  ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง คือ ดินในระดับ 0 – 15 เซนติเมตร  มีอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมด 24.1 กรัมต่อ
                  กิโลกรัม  ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน 6.2  ธาตุฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163