Page 155 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 155

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        144


                  แห้งจะลดลงอีก 20 เปอร์เซ็นต์  จะต้องใช้ปุ๋ยหมักที่มีความชื้น 30 เปอร์เซ็นต์กี่กิโลกรัมต่อไร่  จึงสามารถเพิ่ม

                  อินทรียวัตถุในดินสู่ระดับต้องการ  โดยมีขั้นตอนการค่านวณ ดังรายละเอียดที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 2

                  ตารางที่ 8.2 ปริมาณอินทรียวัตถุที่มีในดินบน  เมื่อดินมีอินทรียวัตถุแตกต่างกัน


                      อินทรียวัตถุ (%)       ปริมาณอินทรียวัตถุ (กก./ไร่)   ปริมาณที่เพิ่มขึ้นจากระดับเดิม(กก./ไร่)

                            0.5                       1,560                               --


                            1.0                       3,120                             1,560

                            1.5                       4,680                             1,560

                            2.0                       6,240                             1,560


                            2.5                       7,800                             1,560


                            3.0                       9,360                             1,560

                            3.5                       10,920                            1,560

                            4.0                       12,480                            1,560


                  ที่มา: ยงยุทธและคณะ (2551)

                             แสดงว่าการเพิ่มอินทรียวัตถุในดินบนความลึก 15 เซนติเมตร จากระดับ 1.0 เป็น 1.5
                  เปอร์เซ็นต์ นั้นต้องใส่ปุ๋ยหมักที่มีความชื้น 30 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 2,433.60  กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 1.5

                  กิโลกรัมต่อตารางเมตร  แต่ถ้าต้องการให้ดินในระดับความลึก 30 เซนติเมตร  มีอินทรียวัตถุตามเกณฑ์
                  ดังกล่าว  ต้องใช้ปุ๋ยหมักมากขึ้นเป็นสองเท่า (ยงยุทธและคณะ, 2551)

                  5. ธาตุอาหารพืชจากปุ๋ยอินทรีย์

                         การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในระบบเกษตรอินทรีย์ ต้องค่านึงธาตุอาหารพืชที่ได้จากปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ลงดิน

                  ได้แก่ รูปของธาตุอาหารพืชที่ปลดปล่อยจากปุ๋ยอินทรีย์ และปริมาณธาตุอาหารที่ได้จากการใส่ปุ๋ยอินทรีย์แต่

                  ละชนิด
                         5.1 รูปของธาตุอาหารพืชที่ปลดปล่อยจากปุ๋ยอินทรีย์

                             พืชที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ หรือระบบการบ่ารุงดินแบบผสมผสาน (ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับ
                  ปุ๋ยเคมี)  ต้องได้รับธาตุอาหารเหมือนกันใน 2 ประเด็น คือ 1) พืชต้องได้รับธาตุอาหารครบทุกธาตุในปริมาณ

                  ที่เพียงพอและสมดุลกัน  2)  ธาตุอาหารรูปที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าจะปลดปล่อยออกมาจากการสลายของแร่
                  ต่างๆ อินทรียวัตถุเดิมในดินหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่  ตลอดจนมาจากการละลายและแตกตัวของปุ๋ยเคมีก็ตาม  จะ

                  อยู่ในรูปแคตไอออนหรือแอนไอออน และพืชก็ดูดไปใช้ในรูปของไอออน (ภาพที่ 8.1)  อย่างไรก็ตามแม้ว่าราก

                  และใบสามารถดูดอินทรียสารโมเลกุลเล็กๆ เช่น ยูเรีย และกรดอะมิโนไปใช้ประโยชน์ได้  แต่กรดอะมิโนในดิน
                  ส่วนมากถูกจุลินทรีย์หลายชนิดน่าไปใช้เป็นสารอาหาร  หรือถูกแปรสภาพเป็นแอมโมเนียมออน  จึงมีกรดอะ

                  มิโนเหลืออยู่ในดินให้พืชดูดไปใช้โดยตรงเพียงเล็กน้อย (Harper, 1984; Hartz and Johnstone, 2006)
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160