Page 162 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 162

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        151


                                                           บทที่ 9



                                     การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการบํารุงดินแบบผสมผสาน


                  1. คํานํา

                         เนื่องจากดินเป็นส่วนส่าคัญมากของระบบการผลิตพืช  ประกอบกับความยั่งยืนของการเกษตรก็

                  ขึ้นอยู่กับผลิตภาพดิน (soil productive)  ถ้าดินมีผลิตภาพสูง (productive soil) เรียกว่า “ดินดี” หมายถึง
                  ดินที่มีสมบัติทางเคมี กายภาพ และชีวภาพที่เหมาะสม  และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง  เมื่อใช้ปลูกพืช

                  ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดีและมีการจัดการที่เหมาะสมกับพืชก็จะให้ผลผลิตสูง  ดังนั้น ดินผลิตภาพสูงจึงต้อง
                  เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง  แต่ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง  โดยสมบัติด้านอื่นๆ ไม่เหมาะสมก็จะมีผล

                  ท่าให้ดินมีผลิตภาพต่่า (ยงยุทธและคณะ, 2551)
                         ส่าหรับสมบัติของดินทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ มีความหมาย ดังนี้

                         1) สมบัติทางเคมีของดิน ได้แก่ สภาพความเป็นกรดเป็นด่าง สภาพความเค็ม ปริมาณสารพิษ ความจุ

                  ในการแลกเปลี่ยนแคตไอออน ความสามารถในการตรึงธาตุอาหาร เช่น การตรึงฟอสฟอรัส เป็นต้น
                         2) สมบัติทางกายภาพของดิน ได้แก่ เนื้อดิน โครงสร้างดิน คามหนาแน่น ความจุในการอุ้มน้่า อัตรา

                  การซาบซึมของน้่า และการระบายอากาศในดิน

                         3) สมบัติทางชีวภาพของดิน ได้แก่ ปริมาณอินทรียวัตถุ ชนิด จ่านวนและกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดิน
                  ทั้งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษต่อพืช

                         ดังนั้นหลักการบ่ารุงดินในระบบการเกษตรอย่างยั่งยืน  จึงควรใช้ปุ๋ยวิธีการแบบผสมผสาน ดังนี้
                         1)  ใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพมากที่สุดเท่าที่จะหาได้  เพื่อบ่ารุงดินในด้านกายภาพ  เคมี และ

                  ชีวภาพตลอดจนปลดปล่อยธาตุอาหารต่างๆ ออกมาให้พืชใช้ประโยชน์
                         2) ถ้าธาตุอาหารจากปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพไม่เพียงพอกับพืช  ก็เสริมด้วยปุ๋ยเคมีตามความจ่าเป็น

                  โดยอาศัยการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน  เป็นตัวก่าหนดชนิดและอัตราของปุ๋ยเคมีที่ต้องการใช้  ทั้ง

                  ต้องค่านึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมในระยะสั้นและระยะยาวด้วย

                  2. หลักการใช้ปุ๋ย

                         2.1 หลักการใช้ปุ๋ยแต่ละประเภท

                               ปุ๋ยมี 3 ประเภท คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ ค่านิยามของการใช้ปุ๋ยจึงแตกต่างกัน
                  และวัตถุประสงค์ของการใช้ ก็มีประเด็นที่แตกต่างกัน ดังตารางที่ 9.1

                              1)  การใช้ปุ๋ยเคมี คือการให้สารประกอบซึ่งมีธาตุอาหารพืชรูปที่เป็นประโยชน์ โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
                  หรือหลายวิธีร่วมกัน เช่นใส่ทางดิน ให้ทางใบหรือให้ทางระบบชลประทาน (ยงยุทธ, 2547 และ 2549) การใช้

                  ปุ๋ยเคมีที่ดี คือการให้ธาตุอาหารซึ่งตรงกับที่พืชขาดแคลน ในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้พืชได้รับธาตุอาหาร

                  ต่างๆครบถ้วน แต่ละธาตุมีปริมาณที่เพียงพอและสมดุล อันจะช่วยให้ได้ผลผลิตสูงและผลผลิตมีคุณภาพดี
                  และคงความอุดมสมบูรณ์ของดินในระดับดีเอาไว้ระยะยาว (Brady and Weil, 2004)
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167