Page 151 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 151

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        140


                                                           บทที่ 8


                                          การจัดการปุ๋ยอินทรีย์ในระบบเกษตรอินทรีย์


                  1. คํานํา

                         เกษตรอินทรีย์ (organic  farming)  คือ ระบบการปลูกพืชที่ค่านึงถึงสภาพแวดล้อม รักษาสมดุล
                  ของธรรมชาติ และความหลากหลายชีวภาพ  จึงจัดระบบนิเวศให้คล้ายธรรมชาติมากที่สุด  การบ่ารุงดินใช้ปุ๋ย

                  อินทรีย์และอนินทรียสารบางชนิด  ส่วนการป้องกันและก่าจัดศัตรูพืชก็ใช้สารและวิธีการที่อนุญาตให้ใช้  หาก
                  ผู้ผลิตปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน  ผลผลิตย่อมปลอดจากผลตกค้างของสารเคมีที่ใช้ควบคุมศัตรูพืช  ส่วนคุณภาพ

                  หลายด้านและองค์ประกอบทางเคมีของผลผลิตพืชอินทรีย์บางชนิดที่ทดสอบแล้ว เช่น กล้วยหอม สตรอเบอรี่

                  และมะเขือเทศ  ไม่มีความแตกต่างจากการผลิตโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี(Daugaard, 2001; Caussiol
                  and joyce, 2004; Rippy et al.,2004)

                         การผลิตพืชอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ 9 ประการ เริ่มจากการเลือกพื้นที่  การ
                  วางแผนจัดการ  การเลือกพันธุ์  การปรับปรุงบ่ารุงดิน  การจัดการศัตรูพืช  การเก็บเกี่ยว  การจัดการหลัง

                  เก็บเกี่ยวและเก็บรักษา (Plotto and Nariso, 2006)  การขนส่งและการแปรรูป  เห็นได้ว่าการปรับปรุงบ่ารุง

                  ดินเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่ง  ที่ท่าให้ได้พืชอินทรีย์ตามวัตถุประสงค์ (กรมวิชาการเกษตร, 2543)
                         การผลิตพืชอินทรีย์ในประเทศไทยมี 3 แบบ คือ แบบที่ 1 เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรร่วมกันผลิต

                  “พืชอินทรีย์” ตามวิธีการที่ก่าหนดกันเอง  มิได้ผลิตตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร  จึงไม่มีใบรับรองที่

                  แสดงว่าผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์  เป็นการผลิตเพื่อ
                  บริโภคเองภายในกลุ่มหรือเป็นสินค้าที่จ่าหน่ายในท้องถิ่น  แบบที่ 2  เป็นการผลิตตามมาตรฐานการผลิตพืช

                  อินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร  ผ่านการตรวจสอบและมีใบรับรอง  และแบบที่ 3  เป็นการผลิตเพื่อส่งออก
                  และใช้มาตรฐานของประเทศผู้น่าเข้า  ซึ่งภาคเอกชนที่รับซื้อสินค้าจะติดต่อกับผู้ผลิตในประเทศไทยโดยตรง

                  ในบทนี้จะเน้นการผลิตพืชตามแบบที่ 2
                         ส่าหรับค่านิยามของศัพท์บางค่าตามมาตรฐานนี้ (สถาบันพัฒนาและส่งเสริมปัจจัยการผลิต, 2542) มี

                  ดังนี้

                         1. พืชอินทรีย์ หมายถึง พืช ผลิตผล และผลิตภัณฑ์จากพืชที่ได้จากการผลิตโดยใช้วัสดุธรรมชาติ  ไม่
                  ใช้พืชที่มีการตัดต่อสารพันธุกรรม  รักษาความหลากหลายทางชีวภาพและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม

                         2. ผลิตผล หมายถึง พืช หรือส่วนของพืชที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์
                         3.  ผลิตภัณฑ์ หมายถึง ผลผลิตจากพืชหรือส่วนของพืชที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์  โดยผ่าน

                  กรรมวิธีแปรรูป

                         4. หน่วยรับรองระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์ คือ องค์กรภาครัฐซึ่งมีอ่านาจหน้าที่ในการควบคุม และ
                  ก่ากับดูแลมาตรฐานการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์  รวมทั้งให้การรับรองหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออก

                  ใบรับรองและตรวจสอบมาตรฐานการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์
                         5.  หน่วยงานออกใบรับรองและตรวจสอบมาตรฐานการผลิตพืชแบบเกษตรอินทรีย์ หมายถึง

                  หน่วยงานซึ่งท่าหน้าที่ตรวจสอบและออกใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ก่าหนดไว้
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156