Page 132 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 132

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        121


                  เปอร์เซ็นต์  และการอุ้มน้่าของดินเพิ่มขึ้นจาก 23.35 เป็น 27.73 เปอร์เซ็นต์  นอกจากนี้ปุ๋ยพืชสดที่ไถกลบลง

                  ไปในดินจะสลายตัวได้สารโพลีแซคคาไรด์ (polysaccharides)  ซึ่งบางประเภทมีลักษณะเหนียว (gums) จึง
                  ช่วยเชื่อมประสานอนุภาคดินให้เกาะกันเป็นเม็ดดินที่มีเสถียรภาพ (stable  aggregates)  อย่างไรก็ตามสาร

                  เหนียวเหล่านั้นจะสลายตัวภายในชั่วเวลาปีเดียว  ท่าให้เสถียรภาพของเม็ดดินเหล่านั้นหมดไปด้วย  ทางที่จะ

                  รักษาให้เม็ดดินมีเสถียรภาพต่อไปเรื่อยๆ  ก็โดยการใส่อินทรียสารที่สลายง่าย เช่น ปุ๋ยพืชสดทุกปี (ยงยุทธ
                  และคณะ, 2551)

                        5.4 ส่งเสริมการเจริญของรากพืช
                            ปุ๋ยพืชสดช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของรากพืชหลัก  เมื่อใช้พืชตระกูลถั่วที่มีรากลึก เช่น

                  อัลฟัลฟาและสวีตโคลเวอร์ กับพวกที่มีรากค่อนข้างลึก เช่น เรลโคลเวอร์  ถั่วพุ่ม  ถั่วพร้า และถั่วเหลือง  พืช
                  เหล่านี้เมื่อปลูกในดินที่มีเนื้อละเอียดจะหยั่งรากลึกประมาณ 60 เซนติเมตรหรือมากกว่านั้น  ซึ่งนับว่าลึกกว่า

                  รากพืชหลักหลายๆ ชนิด  ในระบบพืชหมุนเวียนรากที่หยั่งลงลึกนี้อาจถึงชั้นดินดานหรือผ่านชั้นดินดานได้บ้าง

                  โดยปกติรากพืชตระกูลถั่วมักมีความสามารถในการชอนไชชั้นดินแข็งได้ดีกว่าพืชอื่น  เมื่อไถกลบปุ๋ยพืชสดราก
                  ที่อยู่ในดินล่างก็ผุพังอยู่ตรงที่เดิม  หากรากของพืชหลักไชชอนผ่านแนวของรากนั้นก็จะได้รับธาตุอาหารที่มา

                  จากการเน่าเปื่อยของรากเก่าทั้งอาจหยั่งลึกกว่าเดิม  จึงใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารและน้่าจากในดินชั้นล่าง

                  ด้วย  หากพืชซึ่งใช้ท่าปุ๋ยพืชสดเป็นพวกที่มีรากเล็กและแผ่ขยายกว้างในแนวราบแต่ไม่ดิ่งลึก  จะให้ประโยชน์
                  ในการสร้างเม็ดดินในดินเนื้อละเอียด  ซึ่งมีความส่าคัญเช่นเดียวกัน (ยงยุทธและคณะ, 2551)

                        5.5 ช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ํา
                            พืชปุ๋ยสดโดยปลูกเป็นพืชคลุมดิน เช่น ถั่วคาโลโปโกเนียม  ถั่วลาย และถั่วคุดซู จะช่วยมิให้หน้า

                  ดินเกิดการชะล้างพังทลาย (erosion)  อันเกิดจากน้่าและลม และเมื่อเศษใบหรือกิ่งของพืชคลุมนั้นหมดอายุที่
                  หลุดร่วงลงทับถมในหน้าดินและต่อมาก็ผุสลายตัวเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน,

                  2551)

                        5.6 ช่วยในการป้องกันกําจัดวัชพืช
                            ในกรณีที่พืชปุ๋ยสดที่ปลูกเป็นพืชคลุมดิน เช่น การปลูกถั่วพร้าในไม้ผล หรือถั่วคาโลโปโกเนียม ใน

                  สวนปาล์มน้่ามัน  เมื่อเจริญเติบโตเต็มพื้นที่แล้วก็จะเป็นตัวป้องกันมิให้วัชพืชอื่นๆ ที่ไม่ต้องการขึ้นได้  อันเป็น
                  การช่วยลดต้นทุนในการป้องกันก่าจัดวัชพืชอีกด้วย (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)

                        5.7 ช่วยในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช

                            การเปลี่ยนชนิดพืชที่ปลูกจากพืชหลักเป็นพืชอื่น เช่น พืชปุ๋ยสด จะเป็นการท่าลายวงจรของโรค
                  และแมลงลงได้  จึงเป็นการลดการระบาดของโรคพืชและแมลงศัตรูพืชบางชนิดได้ (ธงชัย, 2546) เช่น การใช้

                  พืชปุ๋ยสดสามารถตัดวงจรการระบาดของโรคใบขาวในอ้อยได้  นอกจากนี้ช่วยในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช
                  Aspergillusflavus,  Sclerotiumrolfsi และ Rhizoctoniasolani (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน,  2551)

                  เพราะเมื่อพืชปุ๋ยสดสลายตัวสมบูรณ์แล้วท่าให้อินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น  ซึ่งเมื่อมีอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร

                  และแหล่งพลังงานอย่างเพียงพอมีผลท่าให้จุลินทรีย์  ซึ่งเป็นคู่แข่งของเชื้อโรคนั้นมีการเจริญดีและสังเคราะห์
                  สารยับยั้งบางอย่างออกมาในความเข้มข้นที่สูง  ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อสาเหตุของโรค  นอกจากนี้ยัง

                  มีจุลินทรีย์ดินซึ่งมีภาวะปฏิปักษ์ต่อกันอีกหลายคู่ที่ควบคุมซึ่งกันและกันให้อยู่ในภาวะสมดุลได้  เมื่อดินมี
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137