Page 131 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 131

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        120


                  ของดินลดต่่ากว่าเดิม  ส่วนการเพิ่มความเป็นกรดเป็นด่างของดินเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ ประการที่ 1

                  สารอินทรีย์บางชนิดที่เกิดขึ้นในการสลายตัวของปุ๋ยพืชสดมีสมบัติเป็นตัวรีดิวซ์ (reducing substances)  จึง
                  รีดิวซ์เฟอริกออกไซด์และแมงกานีสออกไซด์  ซึ่งกระบวนการดังกล่าว  ได้ดึงโปรตอนจากดินมาใช้  และ

                  ประการที่ 2 การแปรสภาพแอนไอออนอินทรีย์ (organic  anions) เป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน้่า  ก็จะดึง

                  โปรตอนมาใช้ท่าให้โปรตอนในดินลดลง   อย่างไรก็ตามการใส่ปุ๋ยพืชสดจะมีผลให้ความเป็นกรดเป็นด่างของ
                  ดินขณะหนึ่งลดหรือเพิ่มขึ้นอยู่กับผลของปฏิกิริยาทั้งหมดที่เกิดขึ้นขณะนั้น  กล่าวคือ เมื่อกระบวนการทั้งหมด

                  มีผลให้ปริมาณโปรตอนในดินเพิ่มขึ้นความเป็นกรดเป็นด่างของดินก็ลดลง  แต่ถ้าความเป็นกรดเป็นด่างผล
                  สุดท้ายโปรตอนในดินลดลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินก็เพิ่มขึ้น

                          5.2.2 ศักย์รีดอกซ์ของดิน
                                การใช้ปุ๋ยพืชสดในดินนาน้่าขังมีผลต่อศักย์รีดอกซ์ (Eh)  แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อค่านี้  เมื่อใส่

                  ในดินไร่  เนื่องจากการใส่ปุ๋ยพืชสดดินนาจะเร่งการใช้ออกซิเจนในการหายใจของจุลินทรีย์  และเพื่อออกซิ

                  ไดส์สารประกอบอินทรีย์บางชนิดให้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์  ท่าให้ศักย์รีดอกซ์ของดินจึงมีค่าลดลง  การใส่
                  ปุ๋ยพืชสดในดินนาที่มีสมบัติทางเคมีต่างๆ กัน  ก็ท่าให้ศักย์รีดอกซ์ของดินลดลงกว่าเมื่อไม่ใส่  โดยลดลงมาก

                  ในช่วง 1 – 4 สัปดาห์แรก หลังการขังน้่า  นอกจากนั้นการใส่ปุ๋ยพืชสดยังท่าให้ชั้นออกซิไดส์ (oxidized

                  layer) ของดินนาน้่าขังแคบลงจาก 5 – 6 มิลลิเมตร เหลือ 2 – 3 มิลลิเมตร อีกด้วย
                          5.2.3 เมแทบอไลด์อินทรีย์

                                ระหว่างที่ปุ๋ยพืชสดสลายตัวในดินจะมีอินทรียสารหลายชนิดเกิดขึ้นและสะสม  ส่าหรับ
                  กระบวนการสลายตัวแบ่งเป็นสองขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดอินทรีย์  ส่วน

                  ขั้นตอนที่สองเป็นการเปลี่ยนกรดอินทรีย์ให้เป็นแก๊ส  ส่าหรับในดินที่มีการถ่ายเทอากาศดีกระบวนการใน
                  ขั้นตอนที่สองเกิดรวดเร็วกว่าขั้นตอนแรก  จึงไม่มีการสะสมกรดอินทรีย์  แต่ในดินขังน้่าที่ใส่ปุ๋ยพืชสดจะมีกรด

                  อินทรีย์และสารอินทรีย์อื่นๆ ตกค้างอยู่มาก  ส่าหรับอินทรียสารซึ่งสะสมในดินขังน้่าที่ใส่ปุ๋ยพืชสด ได้แก่

                  1) กรดอินทรีย์ เข่น กรดแอซิติก (acetic acid)  กรดบิวทีริก (butyric acid)  กรดตาตาริก (tartaric acid)
                  และกรดฟีนอลิก (phenolic  acid)  2) แอลกอฮอล์ เช่น เมทานอลและอีทานนอล  3) แอลดีไฮด์ เช่น แอซิ

                  ตาลดีไฮด์ และ 4) อะมีน เช่น พิวเตรสซีน (putresine)  ในช่วงที่มีการสะสมสารเหล่านี้มากยังไม่ควรปลูกพืช
                  เนื่องจากมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น กรดอินทรีย์มีผลยับยั้งการยึดตัวของรากและจ่ากัดการ

                  ดูดธาตุอาหาร  โดยเฉพาะกรดอินทรีย์ที่มีความเข้มข้นมาก เช่น กรดแอซิติกเข้มข้นเกินกว่า 1 มิลลิโมลาร์

                  ยับยั้งการดูดธาตุฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม
                        5.3 ปรับปรุงสมบัติทางฟิสิกส์ของดิน

                            การปลูกพืชปุ๋ยสดและสับกลบลงดิน  เมื่อพืชปุ๋ยสดสลายตัวสมบูรณ์แล้วท่าให้อินทรียวัตถุในดิน
                  เพิ่มขึ้น  ซึ่งอินทรียวัตถุมีผลท่าให้สมบัติทางฟิสิกส์ของดินดีขึ้นอย่างเด่นชัด กล่าวคือ ช่วยให้เกิดเม็ดดินมาก

                  ขึ้นเป็นการเพิ่มเสถียรภาพของเม็ดดิน  ความเป็นประโยชน์ของน้่าในดินเพิ่มขึ้น และลดความหนาแน่นรวม

                  ของดินลดลง  ดังรายงานวิจัยของ ชุมพลและคณะ ว่า การไถกลบพืชปุ๋ยสด 8 ชนิด ได้แก่ ปอเทือง  ถั่วพุ่ม
                  ถั่วขอ  ปอเทืองเตี้ย  ถั่วแปบ  ถั่วแดง  ถั่วแปยี และถั่วพร้า สามารถลดความหนาแน่นของดินชุดปากช่องลง

                  จากเดิม 1.29 เป็น 1.21 กรัมต่อตารางเซนติเมตร  ความพรุนของดินเพิ่มขึ้นจากเดิมจาก 63.20 เป็น 66.66
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136