Page 130 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 130

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        119


                  ท่าให้ไปละลายแคลเซียมและแมกนีเซียมคาร์บอเนตในดินเป็นแคลเซียมและแมกนีเซียมไอออนในสารละลาย

                  ดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                          5.1.5 ธาตุกํามะถัน

                                ปุ๋ยพืชสดสลายตัวเร็วและปลดปล่อยก่ามะถันออกมา 2 รูปตามสภาพดิน กล่าวคือ ให้

                  ซัลเฟตในดินที่มีออกซิเจนเพียงพอ และให้ซัลไฟด์ในดินที่ขาดออกซิเจน เช่น ดินนาน้่าขัง  ในสภาพหลังนี้อาจ
                  มีการระเหยของไฮโดรเจนซัลไฟด์ระหว่างการสลายตัวของปุ๋ยพืชสด  ปัจจัยด้านองค์ประกอบของพืชที่

                  ส่งเสริมกระบวนการมินเนอราลไลเซซันของก่ามะถัน  โดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน คือ เปอร์เซ็นต์ก่ามะถัน
                  และสัดส่วนระหว่างคาร์บอนและก่ามะถัน กล่าวคือ ปุ๋ยพืชสดซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่วมีก่ามะถันมากกว่า 0.15

                  เปอร์เซ็นต์และมีสัดส่วนระหว่างคาร์บอนและก่ามะถันต่่ากว่า 200 จะเกิดมินเนอราลไลเซซันของก่ามะถัน
                  และปลดปล่อยออกมาให้พืชหลักใช้ประโยชน์  แต่การไถกลบซากพืชซึ่งมีสัดส่วนระหว่างคาร์บอนและ

                  ก่ามะถันสูงกว่า 420 จะเกิดอิมโมบิไลเซซันของก่ามะถัน  โดยจุลินทรีย์ดินดูดซัลเฟตจากดินไปใช้  เป็นเหตุให้

                  ก่ามะถันรูปที่เป็นประโยชน์ลดลง (ยงยุทธและคณะ, 2551)
                          5.1.6 จุลธาตุ

                                เนื่องจากการสลายตัวของปุ๋ยพืชสดจะมีการปลดปล่อยจุลธาตุให้แก่พืชที่ปลูกตามมา

                  นอกจากนี้ยังได้อินทรียสารที่ท่าหน้าที่เป็นตัวรีดิวซ์และสารคีเลต  ซึ่งมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของจุลธาตุ
                  ในดิน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพออกซิเดชัน-รีดักชัน ของดินนาน้่าขัง  เป็นเหตุให้จุลธาตุหลายชนิดละลาย

                  ได้มากขึ้น และการเพิ่มปฏิกิริยาคีเลชันระหว่างอินทรียสารกับไอออนของจุลธาตุพวกโลหะในสภาพน้่าขัง
                  พบว่า ธาตุเหล็กกับแมงกานีสจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพออกซิเดชัน – รีดักชันของดินมากที่สุด ดังรายงาน

                  ของ Chen  and  Stevenson  (1986)  พบว่า การใส่ปุ๋ยพืชสดในสภาพน้่าขังท่าให้ความเข้มข้นของเฟอรัส
                           2+
                                                   2+
                  ไอออน (Fe ) และแมงกานีสไออน (Mn ) ในสารละลายดินเพิ่มเร็วกว่าเมื่อไม่ใส่ปุ๋ยพืชสด  โดยความเข้มข้น
                         2+
                                                                                      2+
                  ของ Fe   ในสารละลายดินเพิ่มถึงจุดสูงสุดหลังการขังน้่า 2 สัปดาห์  ส่วน Mn  เพิ่มถึงจุดสูงสุด 1 – 2
                  สัปดาห์ หลังการขังน้่า  นอกจากผลของสภาพรีดักชันอันเกิดจากการขังน้่าแล้ว  อิทธิพลของอินทรียสารอัน
                                                                                   3+
                  เป็นตัวรีดิวซ์ที่เกิดจากการสลายตัวของปุ๋ยพืชสด  ท่าให้เฟอริกออกไซด์ (Fe )  และแมงกานิกออกไซด์
                                                                         2+
                      3+
                                                                                   2+
                  (Mn ) ถูกรีดิวซ์และละลายได้มากขึ้น  โดยที่ความเข้มข้นของ Fe   และ Mn  ในสารละลายดินจึงสูงกว่า
                  การไม่ใส่ปุ๋ยพืชสดอย่างมาก กล่าวคือในวันที่ 14 หลังการขังน้่า  ดินที่ใส่และไม่ใส่ปุ๋ยพืชสดมีธาตุเหล็กใน
                  สารละลายดิน 60 และ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามล่าดับ  และในวันที่ 10 หลังการขังน้่า ดินที่ใส่และไม่ใส่ปุ๋ย

                  พืชสด มีธาตุแมงกานีสในสารละลายดิน 38 และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามล่าดับ
                        5.2 ปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน

                            การใส่ปุ๋ยพืชสดในดินมีผลต่อ ความเป็นกรดเป็นด่าง  ศักย์รีดอกซ์ (redox  potential) และ
                  เมแทบอไลด์อินทรีย์ (organic metabolite) (Signh et al., 1992) ดังนี้

                            5.2.1 ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)

                                  การใส่ปุ๋ยพืชสด  มีผลท่าให้ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเปลี่ยนแปลงได้สองทาง คือ
                  ลดลงหรือเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ความเป็นกรดเป็นด่างของดินลดลงเกิดจากการสลายตัวของปุ๋ยสดท่าให้เกิดกรด

                  อินทรีย์และคาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งช่วยเพิ่มไฮโดรเจนไอออน (โปรตอน) เป็นสาเหตุให้ความเป็นกรดเป็นด่าง
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135