Page 128 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 128

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        117


                  กระบวนการมินเนอราลไลไซซันกลับเกิดกระบวนการอิมโมบิไลเซซันแทน  นอกจากนี้สัดส่วนระหว่าง

                  คาร์บอนและฟอสฟอรัสเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควบคุมการปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสของปุ๋ยพืชสด  ส่าหรับค่า
                  วิกฤตของ  C  :  P  เรโช ที่ส่งเสริมกระบวนการมินเนอราลไลเซซันของฟอสฟอรัสนั้นยังไม่มีความชัดเจนนัก

                  โดยค่าที่รายงานไว้ต่่าสุดคือ 55:1และ สูงสุดถึง 300:1  อย่างไรก็ตามการทดสอบในถั่วบางชนิดที่มี  C  :  P

                  เรโช 112:1 เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่า มีกระบวนการอิมโมบิไลเซซันของฟอสฟอรัสองค์ประกอบของพืชทั้ง
                  สองประการข้างต้น  ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชปุ๋ยสด  ระดับความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินที่ใช้ปลูก

                  และอายุของพืชที่ไถกลบ  ส่าหรับพืชปุ๋ยสดอายุ 6 – 8 สัปดาห์ มักมีฟอสฟอรัสสูงกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์
                  เล็กน้อย และC  :  P เรโช ประมาณ 100:1  ซึ่งเมื่อไถกลบในดินส่วนเหนือดินซึ่งสลายง่ายกว่ารากและจะ

                  ปลดปล่อยฟอสฟอรัสรูปที่เป็นประโยชน์ออกมาก่อน
                                 2) ผลของปุ๋ยพืชสดยังช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส

                                        การใช้พืชปุ๋ยสดช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินนาน้่าขังและดินไร่ ดังนี้

                                   - ดินนาน้ําขัง  ปุ๋ยพืชสดช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินได้ด้วยกลไก 3
                  แบบ คือ รีดักชัน(reduction)  คีเลชัน (chelation) และปรับpH ของดินให้เหมาะสม  เนื่องจากการใส่ปุ๋ยพืช

                  สดในดินนาจะเร่งการใช้ออกซิเจนในการหายใจของจุลินทรีย์  เป็นเหตุให้ศักย์รีดอกซ์ของดินมีค่าลดลง

                  สารประกอบเหล็กฟอสเฟตและแมงกานีสฟอสเฟตจึงละลายได้มากขึ้น  ประกอบกับการใส่ปุ๋ยพืชสดท่าให้
                  pH ของดินเปลี่ยนแปลงได้สองทาง คือ  pH ของดินด่างลดลง และ pH ของดินกรดเพิ่มขึ้น  ซึ่งเป็นสภาพที่

                  ส่งเสริมการละลายของสารประกอบฟอสเฟตในดินเช่นเดียวกัน เช่น การขังน้่าดินกรด (pH 5.8) เป็นเวลา 50
                  วัน ท่าให้ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เพิ่มจาก 0.8 กิโลกรัมฟอสฟอรัสต่อไร่ เป็น 2.4 กิโลกรัมฟอสฟอรัสต่อไร่

                  แต่ถ้าใส่ปุ๋ยพืชสดจะเพิ่มเป็น 4.1 กิโลกรัมฟอสฟอรัสต่อไร่  นอกจากนี้กรดอินทรีย์และสารประกอบอินทรีย์
                  หลายชนิดที่เกิดจากการสลายตัวของปุ๋ยพืชสด  จะอยู่ในรูปสารคีเลตที่สามารถท่าปฏิกิริยาคีเลชันกับไอออน

                  ของธาตุแคลเซียม เหล็ก แมงกานีสและอลูมิเนียม  จึงป้องกันมิให้ไอออนทั้งสี่ชนิดดังกล่าวไปท่าปฏิกิริยากับ

                  ฟอสเฟตรูปที่เป็นประโยชน์ในดินอีก  จึงป้องกันการตรึงฟอสฟอรัสในดินนาน้่าขังได้อีกทางหนึ่ง (ยงยุทธและ
                  คณะ, 2551)

                                   - ดินไร่  ส่าหรับผลของปุ๋ยพืชสดต่อความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินไร่  แม้จะไม่
                  มากเหมือนดินนาน้่าขัง  แต่ก็มีตัวอย่างน่าสนใจ ดังนี้ เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตของอ้อย กล่าวคือ

                  อ้อยใช้ประโยชน์จากปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่ได้เพียง 38.5 เปอร์เซ็นต์  แต่ถ้าใส่ปุ๋ยฟอสเฟตร่วมกับปุ๋ยพืชสดช่วยให้

                  อ้อยใช้ปุ๋ยฟอสเฟตที่ใส่ได้ถึง 50.5 เปอร์เซ็นต์ และดึงฟอสฟอรัสจากดินล่างมาสู่ดินบน  เนื่องจากรากของพืช
                  ปุ๋ยสดมีความสามารถในการดูดฟอสฟอรัสในดินล่างมาเก็บไว้ในรากตื้นใช้ประโยชน์  และรากพืชตระกูลถั่ว

                  หลายชนิดชอนไชได้ลึกลงไปในดินล่าง  จึงมีการขับสารออกจากรากในดินรอบๆ ผิวรากที่แผ่ขยายไปนั้น
                  ภายหลังการไถกลบพืชปุ๋ยสดลงดิน  กรดอินทรีย์และอินทรียสารต่างๆ ที่ได้จากการสลายตัวโดยกิจกรรมของ

                  จุลินทรีย์ดิน  ก็ท่าหน้าที่ละลายสารประกอบฟอสเฟตที่ละลายยาก  รวมทั้งท่าหน้าที่เป็นสารดีเลต  ซึ่งท่า

                  ปฏิกิริยากับแคลเซียม เหล็ก แมงกานีส และอลูมินั่ม  จึงป้องกันมิให้ไอออนทั้งสี่ชนิดไปตรึงฟอสฟอรัสในดิน
                  อีก (Amberger, 1992)
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133