Page 129 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 129

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        118


                                5.1.3 ธาตุโพแทสเซียม

                                      ปุ๋ยพืชสดท่าให้พืชหลักใช้ประโยชน์จากโพแทสเซียมในดินได้มากขึ้น เนื่องจากสาเหตุ
                  2 ประการ คือ ประการแรกเนื่องจากรากพืชตระกูลถั่วเป็นระบบรากลึก  ท่าให้สามารถดูดธาตุโพแทสเซียมใน

                  ดินล่างมาสะสมในต้น  เมื่อท่าการไถกลบลงไปในดินก็สลายตัวและปลดปล่อยโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อ

                  พืชหลักที่ปลูกตามมา ดังรายงานของ Sing et al. (1992) ว่า การใช้ปุ๋ยพืชสดในการปลูกข้าวฟ่างต่อเนื่อง 3
                  ปี  ท่าให้โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินบนมีค่ามากกว่าดินล่าง ดังตารางที่ 6.3  ส่วนประการที่สอง

                  เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์และกรดอินทรีย์จากกระบวนการสลายตัวของซากพืช  ช่วยละลายแร่ที่มี
                  โพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ  จึงเพิ่มโพแทสเซียมไอออนในสารละลายดิน  นอกจากนี้โพแทสเซียมที่เป็น

                  องค์ประกอบของซากพืชก็ถูกปลดปล่อยออกมาในกระบวนการสลายตัวด้วย  และจากรายวิจัยใน
                  ห้องปฏิบัติการ พบว่า การใช้โสนคางคก 0.5 กรัมน้่าหนักแห้งต่อดินแห้ง 100 กรัม หมักเป็นเวลา 8, 16 และ

                  120 วัน มีการปลดปล่อยธาตุโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 342, 347 และ 347 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                  ตามล่าดับ  ส่วนการไม่ใช้โสนคางคกการปลดปล่อยธาตุโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 128, 165 และ 155
                  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามล่าดับ


                  ตารางที่ 6.3 ผลของปุ๋ยพืชสดต่อความเป็นประโยชน์ของโพแทสเซียมในดิน


                     สภาพการทดลอง           ความลึกของดิน            โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (มก./กก.)
                                                 (มม.)              ไม่ใช้ปุ๋ยพืชสด         ใช้ปุ๋ยพืชสด



                  ปลูกข้าวต่อเนื่องกัน 3 ปี     0 – 75                   105                   114
                  และใช้ปุ๋ยพืชสด 4 ครั้ง      75 – 150                  100                    89


                                               150 – 300                 109                    83


                  ที่มา: Sing et al. (1992)
                        5.1.4 ธาตุแคลเซียมและแมกนีเซียม

                                ปุ๋ยพืชสดท่าให้พืชหลักใช้ประโยชน์จากแคลเซียมและแมกนีเซียมในดินได้มากขึ้น  เนื่องจาก

                  สาเหตุ 2 ประการ คือ ประการแรกเนื่องจากรากพืชตระกูลถั่วเป็นระบบรากลึก  ท่าให้สามารถดูดธาตุ
                  แคลเซียมและแมกนีเซียมในดินล่างมาสะสมในต้น  เมื่อท่าการไถกลบลงไปในดินก็สลายตัวและปลดปล่อยดัง

                  รายงานของ Gu and Qi-Xiao (1981) ว่า รากพืชตระกูลถั่วของมิลค์เวตซ์และเวตซ์  มีความสามารถพิเศษใน
                  การดูดแคลเซียมส่วนที่ไม่ค่อยเป็นประโยชน์จากแร่อะพาไทต์ได้มาก  จึงมีน้่าหนักแห้งเพิ่มขึ้นถึง 312 และ

                  183 เปอร์เซ็นต์ ของที่ไม่ใส่แร่นี้ตามล่าดับ  นอกจากนั้นพืชทั้งสองยังดูดแมกนีเซียมที่ไม่ค่อยเป็นประโยชน์

                  จากแร่เซอร์เพมาใช้ได้พอประมาณ  จึงมีน้่าหนักแห้งเพิ่มขึ้นถึง 30 และ 53 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ  เมื่อไถ
                  กลบลงไปในดิน  ปุ๋ยพืชสดก็สลายตัวและปลดปล่อยแคลเซียมและแมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ให้พืชหลักที่

                  ปลูกตามมา  ส่วนประการที่สองเนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากกระบวนการสลายตัวของซากพืช  จะ
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134