Page 127 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 127

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        116


                            5.1.1 ธาตุไนโตรเจน

                                    การปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนของปุ๋ยพืชสดที่ไถกลบดินจากรูปอินทรียสารที่ไม่เป็น
                  ประโยชน์ต่อพืชเป็นรูปอนนินทรีย์สารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  ซึ่งเกิดจากกิจกรรมของจุลินทรีย์  โดยจะมี

                  ปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกระบวนการมินเนอราลไลเซซัน (mineralization) และอิมโมบิไลเซซัน

                  (immobilization)    โดยที่กระบวนการมินเนอราลไลเซซันมีอัตราสูงกระบวนการอิมโมบิไลเซซันก็จะมี
                  ปริมาณธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชก็สูงขึ้น  แต่ถ้ากระบวนการอิมโมบิไลเซซันมีอัตราสูงกว่ามินเนอ

                  ราลไลเซซันปริมาณธาตุไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ต่อพืชก็ลดลง  ดังนั้น ระดับของอนินทรียสารไนโตรเจนใน
                  ดินที่ได้จากปุ๋ยพืชสดจึงอยู่ที่กระบวนการใดเด่นกว่า  ซึ่งส่งผลให้ความเข้มข้นสุทธิของอนินทรียสารไนโตรเจน

                  เป็นบวกหรือลง  ซึ่งเรียกว่าการผันเวียนของมินเนอราลไลเซซัน–อิมโมบิไลเซซัน(mineralization-
                  immobilization tumover) (Tate, 1994)  ในสภาพดินไร่และดินนาน้่าขังการสลายตัวและปลดปล่อยธาตุ

                  ไนโตรเจนของปุ๋ยพืชสดจะเร็วมากในสองสัปดาห์แรกและลดลงในช่วงเวลาต่อมา  ดังงานวิจัยของ Sing et al.

                  (1992) พบว่า ในสภาพดินไร่โสนคางคกที่ไถกลบจะเกิดการย่อยสลายและได้มีค่ามินเนอราลไลเซชันของ
                  ไนโตรเจนสุทธิ 48 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 2 สัปดาห์  เมื่อครบ 4 สัปดาห์ ค่าดังกล่าวของโสนคางคกเพิ่มเป็น 59

                  เปอร์เซ็นต์  แสดงว่า อัตราการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนของโสนคางคกจะช้าลงเมื่อเวลาเพิ่มขึ้น  ซึ่ง

                  สอดคล้องกับรายงานของ Frankenberger  and  Abdelmagid (1985) ว่า การไถกลบพืชปุ๋ยสดชนิดต่างๆ
                  ในช่วงเวลา 20 สัปดาห์ พบว่า ถั่วเหลืองและโคลเวอร์สลายตัวและปลดปล่อยไนโตรเจนได้เร็วกว่าและ

                  มากกว่าถั่วพุ่มและอัลฟัลฟา  โดยกระบวนการสลายตัวของปุ๋ยพืชสดเร็วในช่วง 2 สัปดาห์แรก และช้าลง
                  เล็กน้อยใน 2 สัปดาห์ต่อมา  หลังจากนั้นแม้จะยังปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาอย่างต่อเนื่องแต่อัตราการ

                  ปลดปล่อยก็ช้าลง  ในสภาพดินนาน้่าขังเมื่อไถกลบโสนคางคก พบว่า จะเกิดการย่อยสลายและมีการ
                                                   +
                  ปลดปล่อยแอมโมเนียมไนโตรเจน (NH -N)  จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน 14 วัน  โดยมีค่ามินเนอราลไลเซซัน
                                                  4
                  ของไนโตรเจนสุทธิ 31 เปอร์เซ็นต์  และเมื่อเวลาเพิ่มขึ้นเป็น 20 และ 30 วัน ค่ามินเนอราลไลเซซันของ

                  ไนโตรเจนสุทธิ 37 และ 49เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ แสดงว่า อัตราการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนของโสนคางคก
                  จะช้าลงเมื่อเวลาเพิ่มขึ้น (Sing et al.,1992)  ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Khind et al. (1985) ว่า การไถ

                  กลบโสนในดินนาน้่าขังจะมีการปลดปล่อยแอมโมเนียมไนโตรเจนเกิดขึ้นสูงสุดภายใน 2 สัปดาห์ ต่อจากนั้นก็
                  จะลดลง

                          5.1.2 ธาตุฟอสฟอรัส

                                เมื่อใส่ปุ๋ยพืชสดลงในดิน  จะมีผลท่าให้ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีประโยชน์มากขึ้น 2 ทาง  คือ
                  (ยงยุทธและคณะ, 2551)

                                1) โดยจากการปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสของปุ๋ยพืชสด  เมื่อไถกลบพืชปุ๋ยสดลงดินจะเกิด
                  การย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์  ในกระบวนการมินเนอราลไลเซซันของฟอสฟอรัสจากรูปอินทรียสาร

                  ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชเป็นรูปอนนินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  องค์ประกอบของปุ๋ยพืชสดที่มีผลต่อการ

                  ปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัส ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ฟอสฟอรัส และสัดส่วนระหว่างคาร์บอนและฟอสฟอรัส (C  :  P
                  เรโช)  โดยที่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปุ๋ยพืชสด  ซึ่งมีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบมากย่อมย่อยสลาย

                  และปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสเร็ว  แต่หากในซากพืชมีธาตุฟอสฟอรัสต่่ากว่า 0.2เปอร์เซ็นต์แทนที่จะเกิด
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132