Page 123 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 123

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        112


                  สามารถลดการสูญเสียหน้าดินในพื้นที่ที่มีความลาดชัน  และท่าให้ผลผลิตข้าวไร่ที่ปลูกในระหว่างแถบพืช

                  อนุรักษ์เพิ่มขึ้น
                            จากข้อมูลข้างต้น พบว่า พืชตระกูลถั่วต่างชนิดกันให้น้่าหนักสด น้่าหนักแห้ง และมีปริมาณธาตุ

                  อาหารแตกต่างกัน  นอกจากนี้พืชตระกูลถั่วชนิดเดียวกันก็ให้น้่าหนักสด  น้่าหนักแห้ง และมีปริมาณธาตุ

                  อาหารแตกต่างกันด้วยเหมือนกัน  เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า ชนิดของพืชตระกูลถั่ว  สภาพแวดล้อมตลอดจน
                  ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่แตกต่างกัน  มีผลต่อการเจริญเติบโตและการตรึงธาตุอาหารของพืชตระกูลถั่วดัง

                  รายงานของอ่านาจและคณะ (2543) ว่า การน่าไมยราบไร้หนามเข้ามาแซมข้าวโพดแล้วไถกลบก่อนปลูก
                  ข้าวโพดครั้งต่อไปรวม 2 ฤดูกาลปลูก  ท่าให้ให้ดินให้ผลผลิตข้าวโพดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 130 (เพิ่มขึ้นจาก 307

                  เป็น 707 กิโลกรัมต่อไร่)  ส่วนการน่าถั่วแปบและถั่วมะแฮะเข้ามาแซมข้าวโพดเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 77 และ
                  86 ตามล่าดับ แสดงว่า พืชต่างชนิดกันเมื่อน่ามาปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดจะมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตไม่

                  เท่ากัน  นอกจากนี้ พบว่า การปลูกปอเทืองในพื้นที่ต่างกัน ได้แก่ จังหวัดสระบุรี สุโขทัย อุดรธานี และ

                  เชียงใหม่ มีผลท่าให้ผลผลิตน้่าหนักแห้งแตกต่างกัน ดังนี้ 534, 617, 357 และ 883 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล่าดับ
                  (กองปฐพี (2534) อ้างโดย ธงชัย (2546)  ซึ่งสอดคล้องกับรายงานวิจัยของโสฬสและคณะ (2553) และเมธิน

                  และคณะ (2553) พบว่า การปลูกปอเทืองในดินปนกรวด จังหวัดราชบุรี และการปลูกปอเทืองในดินร่วน

                  จังหวัดพิษณุโลก จ่านวน 2 ปี พบว่า ให้ผลผลิตน้่าหนักแห้งปอเทืองมีค่าเฉลี่ย 2 ปี แตกต่างกัน ดังนี้ 403.42
                  และ 287.65 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล่าดับ  และปริมาณธาตุไนโตรเจนในต้นปอเทืองมีค่าเฉลี่ย 2 ปี แตกต่างกัน

                  ดังนี้ 2.39 และ 1.95 เปอร์เซ็นต์ ตามล่าดับ

                  4. การใช้พืชปุ๋ยสดในระบบการปลูกพืช

                         การใช้พืชปุ๋ยสดในระบบการปลูกพืชมี 4 ระบบ ดังนี้ (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2549)

                         4.1 ใช้พืชปุ๋ยสดในระบบปลูกพืชหมุนเวียน (Crop  rotation)  ซึ่งเป็นการปลูกพืชปุ๋ยสดที่
                  เหมาะสมบางชนิดหมุนเวียนให้พอเหมาะกับระยะเวลาในการปลูกพืชหลักหรือพืชเศรษฐกิจ แบ่งออกเป็น

                             1) ปลูกพืชหลักหนึ่งชนิดหมุนเวียนสลับกับปลูกพืชปุ๋ยสดหนึ่งชนิดภายในเวลาหนึ่งปีโดยท่า
                  การปลูกพืชปุ๋ยสดต้นฤดูฝนแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดเมื่อถึงระยะเวลาก่าหนดหลังจากนั้นจึงปลูกพืชหลัก

                  ตาม เช่น ปลูกปอเทืองและไถกลบแล้วจึงปลูกข้าวโพดตาม
                             2) ปลูกพืชหลักในต้นฤดูฝนแล้วปลูกพืชปุ๋ยสดในปลายฤดูฝนในระยะเวลาหนึ่งปี  วิธีนี้เกษตรกร

                  นิยมใช้กันแพร่หลาย  โดยพืชปุ๋ยสดที่ปลูกนั้นส่วนมากสามารถน่ามาเป็นอาหารหรือจ่าหน่ายผลผลิตได้

                  แต่ก็เสี่ยงต่อความชื้นไม่พอเพียงแก่การปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น การปลูกข้าวเป็นพืชหลักในฤดูนาปีหลังเก็บ
                  เกี่ยวข้าวปลูกถั่วเหลืองตามโดยหยอดในตอซังข้าว

                             3) ปลูกพืชหลักหนึ่งชนิดสลับหมุนเวียนกับปลูกพืชปุ๋ยสดหนึ่งชนิดในระยะเวลาสองปี คือ

                  การปลูกพืชปุ๋ยสดหรืออาจเป็นพืชปุ๋ยสดคลุมดินซึ่งมีอายุยาวในหนึ่งปี  ท่าการไถกลบแล้วจึงปลูกหลักในปี
                  ที่สองหมุนเวียนกันไป  ซึ่งใช้กับพื้นที่ที่มีความลาดเทเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย  หรือพื้นที่เกษตรที่สูง

                  ที่มีการท่าไร่เลื่อนลอย เช่น การปลูกถั่วแปบเป็นพืชปุ๋ยสดสลับกับถั่วแดงหลวง
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128