Page 124 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 124

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        113


                         4.2 ใช้พืชปุ๋ยสดในระบบปลูกพืชแซม (Inter  cropping) คือ การปลูกพืชปุ๋ยสดบางชนิดที่

                  เหมาะสมแซมในแถวพืชหลัก  ซึ่งอาจเป็นการปลูกพืชหลักแล้วก็ปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในแถวไปพร้อมๆ กันใน
                  เวลาเดียวกัน  หรือปลูกพืชหลักแล้วระยะเวลาหนึ่งจึงปลูกพืชปุ๋ยสดแซมเป็นการเหลื่อมเวลากันในหนึ่งปีแบ่ง

                  ออกเป็น

                             1) ปลูกพืชหลักหนึ่งชนิดแล้วแซมด้วยพืชปุ๋ยสดหนึ่งชนิดในเวลาหนึ่งปี  วิธีนี้เป็นวิธีการท่า
                  การเกษตรในที่ดอนเขตอาศัยน้่าฝน เช่น การปลูกถั่วเขียวหรือถั่วพร้าหรือปอเทืองแซมในแถวข้าวโพดแบบแถว

                  ต่อแถว  หรือพืชหลัก 2 แถวคู่  แล้วจึงแซมด้วยพืชปุ๋ยสด  เมื่ออายุพอเหมาะท่าการไถกลบพืชปุ๋ยสด หรือสับ
                  กลบพืชปุ๋ยสดพร้อมสับกลบตอซังพืชหลัก

                           2) ปลูกพืชหลักสองชนิดแล้วแซมด้วยพืชปุ๋ยสดหนึ่งชนิดในเวลาหนึ่งปี  วิธีนี้ใช้ในระบบการปลูกพืช
                  ในเขตชลประทานที่เป็นนาข้าว  โดยการปลูกข้าวเป็นพืชหลักในฤดูฝนหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว  จึงปลูกพืช

                  หลักอย่างอื่นโดยใช้น้่าชลประทาน เช่น ปลูกข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วแซมด้วยโสนอัฟริกัน ปอเทือง หรือถั่ว

                  พุ่มในแถวข้าวโพด
                           3) ปลูกพืชหลักสองชนิดและพืชปุ๋ยสดสองชนิดในแถวพืชหลักในหนึ่งปี  วิธีนี้ใช้ในเขตเกษตรกรรม

                  ชลประทานที่เป็นที่ดอนหรือนาดอน  โดยในฤดูฝนปลูกพืชไร่เป็นพืชหลัก เช่น ปลูกข้าวโพดแล้วแซมด้วยพืชปุ๋ย

                  สด เช่น ปอเทือง ถั่วเขียว หรือถั่วพร้า  และเมื่อเก็บเกี่ยวพืชหลัก  ท่าการสับกลบพืชปุ๋ยสดและซากพืชหลักหลัง
                  ฤดูฝนแล้ว  ท่าการปลูกพืชหลักชนิดอื่นๆ แล้วแซมด้วยพืชปุ๋ยสดในแถวเช่นเดียวกับที่กล่าวมา  โดยอาศัยน้่าจาก

                  ชลประทาน













                          ภาพที่ 6.1 ระบบปลูกพืชหมุนเวียน                             ภาพที่ 6.2 ระบบปลูกพืชแซม

                     ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2549)          ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2549)
                         4.3 ใช้พืชปุ๋ยสดในระบบปลูกพืชแบบแถบพืช (Strip cropping) เป็นวิธีการใช้พืชปุ๋ยสดปลูกเป็น

                  ก่าแพง  เพื่อเป็นการป้องกันและลดการสูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทลายของดิน  โดยแนวชนวนของพืช
                  ปุ๋ยสดนี้จะท่าหน้าที่เป็นแนวดักตะกอน  อันเกิดจากการชะล้างพังทลายจากฝนและลดความรุนแรงจากการ

                  ไหลบ่าของน้่าฝนได้  โดยใช้ไม้พุ่มบ่ารุงดิน เช่น กระถินหรือถั่วมะแฮะ ปลูกเป็นแถบกว้างประมาณ 2 เมตร

                  ยาวตามแนวระดับความลาดเท  ต่อจากแถบพืชปุ๋ยสดจึงปลูกเป็นแปลงพืชหลักอาจกว้างประมาณ 3 เมตร
                  ขึ้นกับความลาดเทต่อจากนั้นก็เป็นแถบพืชปุ๋ยสด  ท่าสลับกันไปจนเต็มพื้นที่  เหตุที่ใช้กระถินหรือถั่วมะแฮะ

                  เพราะมีอายุข้ามปี  ท่าให้ไม่ต้องปลูกใหม่และช่วยป้องกันชะล้างพังทลายของดิน  นอกจากนี้ยังใช้เป็นปุ๋ยพืช
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129