Page 122 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 122

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        111


                  กลบเมื่ออายุ 60 – 65 วัน  โดยถั่วพร้าให้น้่าหนักสดและน้่าหนักแห้งระหว่าง 2,500 – 3,000 และ 500 –

                  840 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ธาตุไนโตรเจน 10 – 20 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่  โดยส่วนเหนือดินมีปริมาณธาตุ
                  อาหารหลักคิดต่อน้่าหนักแห้งดังนี้ ปริมาณธาตุไนโตรเจน 2.00 – 2.95 เปอร์เซ็นต์  ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส

                  0.30 – 0.40 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณธาตุโพแทสเซียม 2.20 – 3.00 เปอร์เซ็นต์

                            3. ปอเทือง (Clotalaria  juncea)  เป็นพืชปีเดียวลักษณะล่าต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามาก
                  สูงประมาณ 1.80 – 3.00 เมตร  มีดอกสีเหลือง  จะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 45 – 50 วัน  ขึ้นได้ดีในพื้นที่

                  ดอนที่มีการระบายน้่าดี  ไม่ชอบน้่าท่วมขัง  ทนแล้งได้ดีปลูก  โดยวิธีการหว่านอัตราเมล็ดเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อ
                  ไร่  นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในระบบการปลูกสองแบบ คือ แบบระบบปลูกพืชหมุนเวียน  โดยปลูกก่อนพืชหลัก

                  แล้วไถกลบเมื่ออายุ 50 – 65 วัน  พร้อมกับเตรียมดินเพื่อปลูกเพื่อปลูกพืชหลักหลังจากไถกลบ 12-15 วัน
                  และแบบระบบปลูกแซม  โดยหว่านปอเทืองระหว่างแถวพืชหลัก  หลังจากปลูกพืชหลักไปแล้วประมาณ 2

                  สัปดาห์  ปอเทืองให้น้่าหนักสดและน้่าหนักแห้งระหว่าง 2,000 – 3,500 และ 400 – 980 กิโลกรัมต่อไร่ และ

                  ให้ธาตุไนโตรเจน 10 – 20 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่  โดยส่วนเหนือดินมีปริมาณธาตุอาหารหลักคิดต่อน้่าหนัก
                  แห้ง ดังนี้ ปริมาณธาตุไนโตรเจน 2.10 – 2.85 เปอร์เซ็นต์  ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส 0.30 – 0.38 เปอร์เซ็นต์

                  ฟอสฟอรัส และปริมาณธาตุโพแทสเซียม 2.10 – 3.10 เปอร์เซ็นต์

                            4. โสนอัฟริกัน (Sesbania  rostrata)  เป็นพืชปีเดียว ไวต่อช่วงแสง  ต้องมีช่วงวันน้อยกว่า
                  12.0-12.5 ชั่วโมง  จึงออกดอกลักษณะล่าต้นตั้งตรง  แตกกิ่งก้านสาขา  สูงประมาณ 2.00 – 3.50 เมตร

                  สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในสภาพดินไร่และดินนาในสภาพน้่าท่วมขัง   ทนต่อสภาพดินเค็มที่ระดับความเค็ม
                  ประมาณ 2 –8 เดซิซีเมนต่อเมตร  ปลูกโดยวิธีการหว่านอัตราเมล็ดเฉลี่ย 5 กิโลกรัมต่อไร่  ก่อนปลูกควรแช่น้่า 1

                  คืน  เหมาะที่จะใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว  โดยปลูกพืชนี้ล่วงหน้าอย่างน้อย 70 วัน แล้วไถกลบเมื่ออายุ 50 –
                  70 วัน ขณะยังมีน้่าขังในแปลง  ทิ้งช่วงเวลาประมาณ 10 วัน  จึงท่าเทือกเพื่อปลูกข้าว  โสนอัฟริกัน อายุ 50

                  – 70 วัน  ให้น้่าหนักสดและน้่าหนักแห้งระหว่าง 2,000 – 4,000 และ 400 – 1,120 กิโลกรัมต่อไร่

                  ตามล่าดับ และให้ธาตุไนโตรเจน 12 – 20 กิโลกรัมไนโตรเจนต่อไร่  โดยส่วนเหนือดินมีปริมาณธาตุอาหาร
                  หลักคิดต่อน้่าหนักแห้ง ดังนี้ ปริมาณธาตุไนโตรเจน 2.50 – 3.00 เปอร์เซ็นต์  ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส 0.30 –

                  0.40 เปอร์เซ็นต์และปริมาณธาตุโพแทสเซียม2.00 – 2.78 เปอร์เซ็นต์  นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดไถกลบก่อน
                  ปลูกข้าว หรือปลูกหมุนเวียนสลับกับพืชไร่ เช่น ข้าวโพด และอ้อย เป็นต้น

                            5. ถั่วมะแฮะ (Cajanus  cajan)  ลักษณะต้นเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 1 – 5 เมตร

                  สามารถเจริญเติบโตข้ามปีได้ 2 – 3 ปี  เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีการระบายน้่าดี  ไม่ทนต่อสภาพน้่า
                  ท่วมขังและไม่ทนเค็ม  มีระบบรากแก้วและรากแขนงจ่านวนมาก  และหยั่งรากลึกสามารถดูดฟอสฟอรัสได้ดี

                  จึงท่าให้เกิดการหมุนเวียนธาตุฟอสฟอรัสจากดินชั้นล่างสู่ผิวดิน ในด้านการใช้ประโยชน์  โดยปลูกถั่วมะ
                  แฮะไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดอายุประมาณ 60 – 75 วัน  แล้วปลูกพืชไร่ตาม  ให้น้่าหนักสดและน้่าหนักแห้ง

                  ระหว่าง 2,000 – 4,000 และ 400 – 1,120 กิโลกรัมต่อไร่  โดยส่วนเหนือดินมีปริมาณธาตุอาหารหลักเฉลี่ยคิด

                  ต่อน้่าหนักแห้ง ดังนี้ ปริมาณธาตุไนโตรเจน 2.34 เปอร์เซ็นต์  ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส 0.25 เปอร์เซ็นต์ และ
                  ปริมาณธาตุโพแทสเซียม 1.11 เปอร์เซ็นต์ หรือใช้ในระบบปลูกพืชแซมแบบแถบ  เพื่อป้องกันและลดการ

                  สูญเสียหน้าดินจากการชะล้างพังทลายของดิน เช่น การปลูกกระถินผสมถั่วมะแฮะเป็นแถบไม้พุ่มบ่ารุงดิน
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127