Page 110 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 110

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         99


                  อาหารสูงมาผ่านการหมักจนสลายตัวสมบูรณ์ หรือการน่าปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านการสลายตัวสมบูรณ์แล้วผสมกับ

                  วัสดุอินทรีย์หรืออนินทรีย์ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูง เช่นการน่าปุ๋ยหมักที่เป็นแล้วผสมกับวัสดุ
                  อินทรีย์หรืออนินทรีย์ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุอาหารสูง เช่น กระดูกป่น  มูลค้างคาว หรือหินฟอสเฟต
                  เป็นต้น เรียกว่า “ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง” (ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน,  2551)  แต่เมื่อพิจารณา

                  คุณสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง พบว่ามีธาตุอาหารหลักสูงกว่าปุ๋ยหมักทั่วไป  ดังนั้นควรเรียกว่า “ปุ๋ย
                  อินทรีย์ที่มีธาตุอาหารหลักสูง” น่าจะถูกต้องมากกว่า

                         11.1 ปัจจัยที่สําคัญในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง

                               1) วัตถุดิบ  ต้องมีปริมาณธาตุอาหารหลักค่อนข้างสูงนั้น เช่น กากเมล็ดถั่วเหลืองป่น ร่า
                  ละเอียด มูลสัตว์ (มูลค้างคาว มูลไก่ มูลสุกร) กระดูกป่น เศษปลาและหินฟอสเฟต ดังตารางที่ 5.10

                               2) จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ  ในการแปรสภาพแร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช
                  เพื่อน่ามาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงด้วย ได้แก่ สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นจุลินทรีย์ที่มี

                  ประสิทธิภาพในการย่อยสลายเซลลูโลส  สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายโปรตีน ไขมันและ

                  ละลายฟอสเฟต  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายองค์ประกอบของอินทรียไนโตรเจนและไขมัน เพื่อลด
                  การสูญเสียไนโตรเจนในระหว่างกระบวนการหมักและลดกลิ่นแอมโมเนีย  สารเร่งซุปเปอร์ พด.3 จุลินทรีย์

                  เพื่อควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช  และจุลินทรีย์ซุปเปอร์ พด.9  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปลดปล่อย
                  ฟอสฟอรัสของวัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งฟอสฟอรัส เช่น หินฟอสเฟต และกระดูกป่น เป็นต้น


                  ตารางที่ 5.10 แสดงปริมาณธาตุอาหารของวัตถุดิบที่มีธาตุอาหารหลักสูงชนิดต่างๆ

                          วัตถุดิบ                          ปริมาณธาตุอาหาร (เปอร์เซ็นต์)
                                              ไนโตรเจน            ฟอสฟอรัส                โพแทสเซียม


                   กากเมล็ดถั่วเหลือง           7-10                 2.13                  1.12-2.70
                   ปลาป่น                       9-10                 5-6                      3.8
                   ร่าข้าว                      2.41                 4.31                    1.81
                   มูลไก่                       3.19                 4.73                    3.01

                   มูลสุกร                      2.41                 3.38                    1.31
                   มูลวัว/กระบือ                1.48                 0.96                    2.08
                   มูลแพะ                       3.74                 1.56                    5.29
                   กากผงชูรส                    4.93                 0.35                    2.47

                   กระดูกป่น                    3-4                 15-23                    0.68
                   กากกาแฟ                      3.21                 1.64                    2.60
                   กากส่าเหล้า                  2.06                 0.17                    1.03
                   มูลค้างคาว                   1-3                 12-15                    1.84

                   หินฟอสเฟต                    0.15                15-17                    0.10
                   ขี้เถ้าไม้ยาง                1.13                 0.06                    13.48
                   เปลือกเมล็ดกาแฟ              0.93                 0.14                    6.22


                  ที่มา: ส่านักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน (2551)
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115