Page 109 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 109

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         98


                  ผลดี 2 ประการ คือ

                                      1) ลดการสูญเสียของธาตุอาหารของปุ๋ยเคมีรูปประจุบวก  เพราะความสามารถใน
                  การแลกเปลี่ยนประจุบวกค่อนข้างสูง  ซึ่งจะมีส่วนให้ปุ๋ยเคมีที่อยู่ในรูปของประจุบวกบางชนิดถูกดูดยึดไม่

                  สูญเสียไปกับการชะล้าง  และพืชก็สามารถน่าไปใช้ประโยชน์ได้  ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยเคมีต่อ

                  ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารมาก (FAO, 1987)
                                      2) ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (buffer

                  capacity) กล่าวคือ เมื่อดินมีกรดหรือด่างเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย  ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินก็จะไม่
                  เปลี่ยนแปลงจนเป็นอันตรายต่อพืช (Qui and Calcinal, 1978)  นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยหมักในดินกรดสามารถ

                  ช่วยลดความเป็นพิษของอลูมินัมและแมงกานีส  เพราะปุ๋ยหมักซึ่งช่วยดูดยึดธาตุทั้ง 2 ไว้ท่าให้ละลายใน
                  สารละลายดินลดลง  และการใช้ปูนร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์จะสามารถลดความเป็นพิษของอลูมินัมและแมงกานีส

                  ได้ดีที่สุด  ท่าให้ถั่วเหลืองที่ปลูกในดินนั้นมีผลผลิตเพิ่มขึ้น (สุรพันธ์และครรชิต, 2526)

                               10.2.3 ปรับปรุงสมบัติทางชีวภาพของดิน
                                      การใส่ปุ๋ยหมักในดินที่มีอินทรียวัตถุต่่าหรือปานกลาง  เป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

                  ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์ในดิน  ท่าให้มีผลในการเพิ่มปริมาณและชนิดของจุลินทรีย์ในดิน

                  รวมทั้งกิจกรรมของจุลินทรีย์  โดยเฉพาะกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดิน ได้แก่
                  กระบวนการย่อยสลายอินทรียสาร  กระบวนการแปรสภาพของอนินทรียสารจากรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ให้อยู่

                  ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เช่น การเปลี่ยนรูปอนุมูลแอมโมเนียม  ซึ่งเป็นรูปที่พืชดูดน่าไปใช้ได้ยากให้อยู่ใน
                  รูปไนไตรท์เป็นไนเตรท  ซึ่งเป็นรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้ง่าย  และกระบวนการตรึงไนโตรเจนเป็นต้น (Gray

                  and William, 1971; Alexander, 1977)  รวมถึงกิจกรรมของจุลินทรีย์พวกไมคอไรซาที่บริเวณรากพืชด้วย
                  นอกจากนั้นยังพบว่าการใส่ปุ๋ยหมักท่าให้ปริมาณแบคทีเรียเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน  การเพิ่มจ่านวนของ

                  แบคทีเรียมีผลช่วยยับยั้งการเจริญและความสามารถในการก่อให้เกิดโรคพืชของเชื้อโรคโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่

                  ใกล้รากพืช  ดังรายงานของ Nishio  and  Kusano (1980) ว่า การใส่ปุ๋ยหมักในดินมีผลช่วยลดปริมาณเชื้อ
                  โรคพืชบางชนิดในดินและมีผลให้พืชเกิดโรคดังกล่าวน้อยลง  นอกจากนี้การเจริญของจุลินทรีย์ดินท่าให้เกิด

                  กรดอินทรีย์หลายชนิด  ซึ่งกรดอินทรีย์บางชนิดพืชสามารถน่าไปใช้ได้โดยตรง  บางชนิดมีผลต่อการ
                  ปลดปล่อยและเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชอีกทีหนึ่ง (Kucey,  1983)  พบว่า ดินที่มี

                  อินทรียวัตถุสูงจะมีปริมาณไส้เดือนเพิ่มขึ้น  ซึ่งกิจกรรมของไส้เดือน เช่น การสร้างโพรงที่ต่อเนื่อง  จะช่วยใน

                  การระบายน้่าและถ่ายเทอากาศ  ส่งผลให้รากพืชเจริญเติบโตดีขึ้น (ยงยุทธและคณะ, 2551)

                  11. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงหรือปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารหลักสูง
                        ปัจจุบันภูมิปัญญาชาวบ้านของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ได้มีการน่าวัตถุดิบที่มีความหลากหลายมาใช้ใน

                  การผลิตปุ๋ยหมัก  โดยมีสูตรหรืออัตราส่วนและกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป เช่น วัตถุดิบที่ใช้ในการ
                  ท่าปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ได้แก่ มูลสัตว์ ขี้เถ้าแกลบหรือกากอ้อย ร่าละเอียด กากน้่าตาล น้่าสะอาด และหัว

                  เชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งการพัฒนาปุ๋ยหมักให้มีธาตุอาหารหลักสูงขึ้น เพื่อเป็นระบบทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถน่ามา
                  ในการลดหรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี  ดังนั้น ทางกรมพัฒนาที่ดินจึงได้มีการพัฒนาปุ๋ยหมักให้มีปริมาณธาตุ
                  อาหารหลักที่สูงขึ้นจากปุ๋ยหมักทั่วไปโดยน่าวัสดุอินทรีย์และหรืออนินทรีย์ธรรมชาติทางการเกษตรที่มีธาตุ
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114