Page 105 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 105

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         94


                  ตารางที่ 5.7 รายละเอียดการกําหนดสมบัติของปุ๋ยอินทรีย์ (ต่อ)


                  ลําดับที่              ลักษณะ                                เกณฑ์กําหนด


                     6     ความเป็นกรดเป็นด่าง                  5.5 – 8.5

                     7     อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N)    ไม่เกิน 20:1

                     8     ค่าการน่าไฟฟ้า                       ไม่เกิน 10 เดซิซีเมน/เมตร

                     9     ปริมาณธาตุอาหารหลัก

                           - ไนโตรเจน (total N)                 ไม่น้อยกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก

                           - ฟอสฟอรัส (total P O )              ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก
                                             2 5
                           - โพแทสเซียม (total K O)             ไม่น้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก
                                               2
                                                                หรือปริมาณธาตุอาหารหลักรวมกันไม่น้อยกว่า
                                                                2.0 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก


                    10     การย่อยสลายที่สมบูรณ์                มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์

                    11     ปริมาณเกลือ                          ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ โดยน้่าหนัก

                    12     ปริมาณสารพิษไม่เกินกว่าที่รัฐมนตรี
                           ประกาศก่าหนด


                  ที่มา: กรมวิชาการเกษตร (2552)


                  10. ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
                        ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก คือ เป็นแหล่งธาตุอาหารต่างๆ ของพืชและยังช่วยปรับปรุงสมบัติทางเคมี ฟิสิกส์

                  และชีวภาพของดิน ดังนี้

                        10.1 เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช
                             ปุ๋ยหมักมีจุดเด่นด้านธาตุอาหารพืช 2 ประการ คือ 1) มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรองและจุล

                  ธาตุ ครบตามที่พืชต้องการ  แม้แต่ละธาตุจะมีปริมาณที่น้อยกว่าปุ๋ยเคมี  และ 2) ธาตุอาหารในปุ๋ยหมัก

                  ส่วนมากจะปลดปล่อยออกมาอย่างช้าๆ  จึงมีการสูญเสียจากการชะล้างน้อยกว่าปุ๋ยเคมี (He et al., 2001)
                  ส่าหรับความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในปุ๋ยหมักเป็นดังนี้

                             1) ธาตุไนโตรเจน  ในปุ๋ยหมักมีธาตุไนโตรเจนในรูปอินทรียสารเป็นส่วนมาก  ส่วนรูป
                  แอมโมเนียมและไนเตรทมีส่วนน้อย  โดยอัตราการเปลี่ยนธาตุไนโตรเจนจากรูปอินทรียสารเป็นรูป

                  แอมโมเนียมค่อนข้างช้า  ท่าให้ไม่ได้ปลดปล่อยธาตุนี้ทั้งหมดให้แก่พืชในฤดูปลุกเดียว  แต่สามารถปลดปล่อย
                  ให้พืชที่ปลูกตามมาได้อีกด้วย  ซึ่งการเปลี่ยนธาตุไนโตรเจนจากรูปอินทรียสารเป็นรูปแอมโมเนียมในปุ๋ยหมัก

                  เรียกว่า กระบวนการมินเนอราลไลเซชัน (mineralization)  เกิดขึ้นได้ดีเมื่อดินอิ่มตัวดัวยน้่าเพียง 30 – 40

                  เปอร์เซ็นต์  อุณหภูมิ 25 – 30 องศาเซลเซียส  การน่าไฟฟ้าไม่เกิน 1 เดซิซีเมนต่อเมตร และค่าความเป็นกรด
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110