Page 107 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 107

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         96


                             3) ธาตุโพแทสเซียม  ปุ๋ยหมักมีค่าธาตุโพแทสเซียมตั้งแต่ 0.7 ถึงมากกว่า 12 กรัมต่อกิโลกรัม

                  หรือเฉลี่ย 5.4 กรัมต่อกิโลกรัม  ส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้ง่ายและเป็นแหล่งเสริมของธาตุนี้
                  ส่าหรับพืช  เพราะในดินที่ใช้ในการเกษตรส่วนมากมีธาตุโพแทสเซียมประมาณ 4 – 25 กรัมต่อกิโลกรัม  และ

                  มีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมดเท่านั้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (ยงยุทธและคณะ,  2551)  โดยพบว่าธาตุ

                  โพแทสเซียมที่สกัดได้จากปุ๋ยหมักจากขยะในชุมชนและปุ๋ยหมักจากเศษพืชเมื่อเวลา 0 วัน มีค่า 33.9 และ
                  73.4 เปอร์เซ็นต์ของธาตุโพแทสเซียมทั้งหมดตามล่าดับ  เมื่อใส่ปุ๋ยหมักจากขยะในชุมชนในดิน 180 วัน

                  สามารถกัดธาตุนี้ได้เป็น 71.1เปอร์เซ็นต์ของธาตุโพแทสเซียมทั้งหมด  ส่วนที่สกัดได้จากปุ๋ยหมักจากเศษพืชใน
                  ดิน 180 วัน ได้ 35.7 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งมีค่าลดลงเพราะมีการสูญหายจากการชะล้าง (He et al., 2001)

                             4) แคลเซียมและแมกนีเซียม  ปุ๋ยหมักมีค่าธาตุแคลเซียมตั้งแต่ 21 – 75 กรัมต่อกิโลกรัม หรือ
                  เฉลี่ย 39 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนแมกนีเซียมมีค่าตั้งแต่ 1 – 7 กรัมต่อกิโลกรัม หรือเฉลี่ย 3.5 กรัมต่อกิโลกรัม

                  โดยพบว่าดินเนื้อหยาบและเป็นกรดมีแนวโน้มที่จะขาดธาตุเหล่านี้  ดังนั้นการใส่ปุ๋ยหมักก็สามารถช่วยเสริม

                  ธาตุเหล่านี้แก่พืชได้  แต่การใส่ปูนตามความต้องการปูนของดินจะแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกว่า (ยงยุทธและ
                  คณะ, 2551)

                             5) จุลธาตุ  ปริมาณของจุลธาตุในปุ๋ยหมักมีความแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่น่ามาผลิต

                  ส่าหรับค่าเฉลี่ยธาตุเหล็ก คือ 9,300  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ธาตุโบรอน 44.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ธาตุ
                  ทองแดง 299 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ธาตุแมงกานีส 483 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ธาตุโมลิบดีนัม 7.2 มิลลิกรัม

                  ต่อกิโลกรัม และสังกะสี 838 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ยงยุทธและคณะ, 2551)  และจากการทดลองของ He et
                  al. (2001) พบว่า ภายหลังจากใส่ปุ๋ยหมักจากขยะในชุมชนและปุ๋ยหมักจากเศษพืชลงในดินเป็นเวลา 180 วัน

                  ขึ้นไปจะมีการปลดปล่อยจุลธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อพืชเพิ่มขึ้น ดังตารางที่ 5.9
                  ตารางที่ 5.9 การปลดปล่อยจุลธาตุของปุ๋ยหมัก 2 ชนิด (เปอร์เซ็นต์ของธาตุทั้งหมด)



                                       ปุ๋ยหมักจากขยะในชุมชน                     ปุ๋ยหมักจากเศษพืช
                      ธาตุ
                                  0 วัน       180 วัน      360 วัน       0 วัน       180 วัน      360 วัน


                      เหล็ก        6.8          8.5          9.5         11.6         14.0          16.8

                    แมงกานีส       24.5         38.8        62.7         47.1         51.9          57.8

                     สังกะสี       59.0         67.3        71.9         67.7         76.6          80.0

                     ทองแดง        13.3         16.4        16.8         33.8         50.0          63.8


                  ที่มา: He et al. (2001)

                    จากรายงานของกลุ่มอินทรียวัตถุและวัสดุเหลือใช้ (2545) พบว่า ระดับธาตุอาหารในปุ๋ยหมักที่ท่าจาก

                  วัสดุต่างๆ ของประเทศไทย ได้แก่ ฟางข้าว ผักตบชวา ซังข้าวโพด ขยะเทศบาล กากอ้อย แกลบ ขี้เลื่อย

                  และขุยมะพร้าว  มีค่าธาตุไนโตรเจนตั้งแต่ 0.37 – 1.81 เปอร์เซ็นต์  มีค่าธาตุฟอสฟอรัสตั้งแต่ 0.11 – 1.04
                  เปอร์เซ็นต์  มีค่าธาตุโพแทสเซียมตั้งแต่ 0.05 – 3.85 เปอร์เซ็นต์  มีค่าธาตุแคลเซียมตั้งแต่ 0.51 – 2.10
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112