Page 106 - ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย
P. 106

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         95


                  เป็นด่างของดิน 6 – 7  ปุ๋ยหมักที่ผลิตจากวัสดุต่างกันก็ท่าให้กระบวนการ mineralization แตกต่างกันด้วย

                  ดังรายงานวิจัยของ Castellanos and Pratt (1981) พบว่า ปุ๋ยหมักจากฟางข้าวกับมูลโคนมมีการปลดปล่อย
                  ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียมได้ 14.2 เปอร์เซ็นต์ของไนโตรเจนทั้งหมด  แต่ปุ๋ยหมักจากตะกอนน้่าเสียกับต้น

                  ฝ้ายให้ค่าเพียง 8.3 เปอร์เซ็นต์ของไนโตรเจนทั้งหมด  เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมาจากไนโตรเจนทั้งหมดและค่า

                  อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่แตกต่างกัน  สอดคล้องกับรายงานของ Sikora  and  Szmidt  (2001) ว่า
                  ขนาดของปุ๋ยหมัก ไนโตรเจนทั้งหมด และค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนมีอิทธิพลต่อการปลดปล่อย

                  ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ดังตารางที่ 5.8

                  ตารางที่ 5.8 อิทธิพลของขนาดของปุ๋ยหมักต่อการอัตรา mineralization ของไนโตรเจน


                             ขนาด              ไนโตรเจนทั้งหมด  อัตราส่วนคาร์บอน        Mineralization
                                               (กรัมต่อกิโลกรัม)   ต่อไนโตรเจน     (% ของไนโตรเจนทั้งหมด)


                   ผ่านตะแกรง 10 มิลลิเมตร          12.3               14.7                   3.4
                   ผ่านตะแกรง   1 มิลลิเมตร         13.5               10.4                  10.7

                   ค้างบนตะแกรง 10 มิลลิเมตร        11.6               18.6                   2.5


                  ที่มา: Sikora and Szmidt(2001)

                             2) ธาตุฟอสฟอรัส  ปุ๋ยหมักมีค่าธาตุฟอสฟอรัสตั้งแต่น้อยกว่า 0.4 ถึงมากกว่า 23 กรัมต่อ
                  กิโลกรัม  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ผลิต  โดยปกติตะกอนน้่าเสียมีธาตุฟอสฟอรัสสูงกว่าวัสดุอินทรีย์อื่นๆ

                  และพบว่าปุ๋ยหมักที่ผลิตจากขยะชุมชนเมืองมีธาตุฟอสฟอรัส 2 – 6 กรัมต่อกิโลกรัม หรือเฉลี่ย 3.3กรัมต่อ

                  กิโลกรัม  ซึ่งปริมาณของธาตุฟอสฟอรัสสูงกว่าธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมดในดินที่ใช้เพาะปลูก 2 – 10 เท่า
                  โดยทั่วไปธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมักต่่ากว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมดที่ดินมีอยู่

                  ส่วนฟอสฟอรัสที่อยู่ในปุ๋ยหมักสามารถปลดปล่อยออกมาในรูปเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ 20 – 40 เปอร์เซ็นต์

                  โดยกระบวนการ mineralization  (ยงยุทธและคณะ,  2551)  ดังนั้นการใส่ปุ๋ยหมักเป็นการเพิ่มระดับธาตุ
                  ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช  นอกจากนี้ฮิวมัสในปุ๋ยหมักยังท่าหน้าที่เป็นสารคีเลตที่ท่าปฏิกิริยาคีเลชัน

                  กับอะลูมิเนียม เหล็กและแมงกานีสไอออน  จึงป้องกันมิให้ไอออนดังกล่าวตรึงธาตุฟอสฟอรัส  เป็นเหตุให้พืช
                  สามารถใช้ธาตุอาหารฟอสฟอรัส เหล็กและแมงกานีสในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                  (Dulal,  1977;  Bloom,  1981;  Tan,  2003)    เมื่อใส่ปุ๋ยหมักลงไปในดินธาตุฟอสฟอรัสที่อยู่ในปุ๋ยหมักจะ
                  ค่อยๆ ถูกปลดปล่อยออกมาในรูปเป็นประโยชน์ต่อพืช  โดยกระบวนการ mineralization ภายหลังใส่ในดิน

                  ดังงานวิจัยของ He et al. (2001) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการปลดปล่อยธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์จากปุ๋ยหมัก

                  จากขยะในชุมชนและปุ๋ยหมักจากเศษพืช  โดยน่าปุ๋ยหมักชนิดมาสกัดด้วยสารละลาย Mehlich 3 ก่อนใส่ใน
                  ดิน (0 วัน) และหลังใส่ในดิน 180 และ 360 วัน พบว่า ปุ๋ยหมักจากขยะในชุมชนสกัดได้เพิ่มจาก 3.3 เป็น

                  17.3 และ 18.4 เปอร์เซ็นต์ของธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมด และปุ๋ยหมักจากเศษพืชสกัดได้เพิ่มจาก 3.7 เป็น 25.5

                  และ 27.0 เปอร์เซ็นต์ของธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมด
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111