Page 31 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
ขนส่ง หรือแม้กระทั่งถนนเพื่อขนส่งเครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์การเกษตรรวมทั้งผลผลิต
การเกษตรออกสู่ตลาด เป็นต้น
คูรับน้ าขอบเขา (Hillside-Ditch) หรือ คันดินแบบที่ 6 ควรใช้กับพื้นที่ที่มี
ความลาดเทมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงพื้นที่โครงการพิเศษอื่นๆ เช่น โครงการหลวง และพื้นที่สูง
เป็นต้น ซึ่งปริมาตรดินขุดดินถม ประมาณ 0.2 ลูกบาศก์เมตรต่อเมตร ขุดดินโดยใช้แรงงานคน (ไชย
สิทธิ์, 2549)
ในการค านวณหาระยะห่างระหว่างคันดินแบบต่างๆ และแนวหญ้าแฝก (กรม
พัฒนาที่ดิน, 2553) สามารถหาได้จากสูตร
VI = (0.5 S + 2) 0.3 เมตร
HI = (VI / S) 100 เมตร
เมื่อ VI = ระยะตามแนวดิ่ง
HI = ระยะตามแนวราบ
S = เปอร์เซ็นต์ความลาดชัน (slope)
2.1.3) การไถพรวนตามแนวระดับ (Contour Tillage) การไถพรวนและปลูก
พืชตามแนวระดับเป็นการไถพรวน หว่าน ปลูกและเก็บเกี่ยวพืชไปตามแนวระดับขวางความลาดเท
ของพื้นที่ วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการซาบซึมน้ าของดิน และรักษาความชุ่มชื้นในดิน และเพื่อควบคุม
การไหลบ่าของน้ าและการชะล้างพังทลายของดิน โดยมีหลักการปลูกพืชตามแนวระดับขึ้นกับลักษณะ
ของดิน ความลาดเท ลมฟ้าอากาศ และลักษณะการใช้ที่ดิน การปลูกพืชตามแนวระดับที่มี
ประสิทธิภาพดีที่สุดควรปฏิบัติบนพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ าประมาณร้อยละ 2-7 และความยาวของ
ความลาดเทไม่เกิน 100 เมตรในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง และมีการใช้ร่วมกับมาตรการอื่นๆ เช่น คัน
ดิน และขั้นบันไดดิน
2.1.4) อาคารชะลอความเร็วของน้ า (check dam) อาคารชะลอความเร็ว
ของน้ าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นในพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลายของดินแบบร่องลึก เพื่อชะลอความเร็ว
ของน้ า และช่วยให้เกิดการตกตะกอนทับถมในร่องน้ า ท าให้ร่องน้ าตื้นเขิน ช่วยให้พืชต่างๆ ในร่องน้ า
ที่เพิ่งงอกใหม่ไม่ถูกน้ าพัดพาไปสามารถเจริญเติบโตขึ้นปกคลุมร่องน้ าได้เร็วขึ้น โดยสร้างขวางเป็น
ช่วงๆ ในร่องน้ าที่มีการกัดเซาะ อาจสร้างด้วยเศษไม้ เศษพืช หิน ดิน หรือคอนกรีตก็ได้ หรือเป็น
สิ่งก่อสร้างที่ช่วยลดปัญหาการกัดเซาะในทางระบายน้ าที่ปูด้วยหญ้าใช้กับพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลาย
แบบร่องลึก หรือในทางระบายน้ า
2.1.5) บ่อน้ าในไร่นา (Farm Pond) หรือบ่อขุด (Excavated Pond) คือ
บ่อน้ าหรือสระเก็บน้ าที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ าฝน น้ าท่า น้ าที่ไหลออกจากดินและน้ าที่ไหล
ผ่านผิวดินลงในบ่อ โดยขุดดินให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึก ตามจ านวนน้ าที่ต้องการจะเก็บกักไว้ และ
น าดินที่ขุดนั้นมาถมเป็นคันรอบสระเพื่อท าเป็นบ่อน้ าในไร่นา สิ่งส าคัญที่ต้องพิจารณาในการเลือก
พื้นที่สร้างสระน้ า เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการขุดสระแล้วไม่ได้น้ า คือ ลักษณะและสมบัติของดินที่มี
ผลต่อปริมาณน้ าที่จะเก็บกัก เช่น ความลึกของดิน เนื้อดิน และความซึมน้ า หรือความสามารถของดิน
ที่ให้น้ าซึมผ่าน (Permeability) ในระดับความลึก 1 เมตร ซึ่งมีผลต่อปริมาณการไหลซึมของน้ า
(Seepage) และปริมาณของก้อนหินจะมีผลต่อความยากง่ายในการขุด