Page 28 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        18







                       แนวชายแดน ขณะเดียวกันเยาวชนบนพื้นที่สูงมีแนวโน้มที่จะอพยพไปประกอบอาชีพในเมืองมากขึ้น
                       ท าให้ขาดแคลนแรงงานในชุมชน (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), ม.ป.ป.)
                               พื้นที่สูงของประเทศไทยมีทั้งสิ้นประมาณ 96.1 ล้านไร่ ประกอบด้วย ภาคเหนือ 54 ล้านไร่
                       ภาคกลาง 12 ล้านไร่ ภาคใต้ 14.6 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12.1 ล้านไร่ และภาคตะวันออก

                       3.4 ล้านไร่ กรมพัฒนาที่ดินได้ส ารวจและจ าแนกดินบนพื้นที่สูง เป็นชุดดินที่ 62 กลุ่มชุดดินนี้พบอยู่
                       บนสภาพพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูงชัน หรือเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ส่วนใหญ่มีความลาดเทมากกว่า 35
                       เปอร์เซ็นต์ แต่อาจพบดินที่มีลักษณะแบบเดียวกัน อยู่บนพื้นที่ที่มีความลาดเทน้อยกว่า 35
                       เปอร์เซ็นต์ปะปนอยู่บ้าง ลักษณะและคุณสมบัติของดินที่พบมีความแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับปัจจัยที่

                       ก่อให้เกิดที่ดิน ได้แก่ วัตถุต้นก าเนิดดิน ระดับความสูงต่ า และความลาดเทของพื้นที่ ตลอดจนความ
                       ลาดเอียงของชั้นหิน พืชพรรณและการใช้ประโยชน์ สภาพภูมิอากาศ และระยะเวลาในการพัฒนาของ
                       ดินเหล่านั้น ดังนั้นจึงอาจจะพบตั้งแต่ดินตื้นจนถึงดินลึก หรือพบปะอยู่ในบริเวณเดียวกันก็ได้ เนื้อดิน
                       พบตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินเหนียว สีของดินมีสีตั้งแต่สีน้ าตาลจนถึงแดง ปฏิกิริยาดินตั้งแต่เป็นกรดจัด

                       ถึงเป็นด่างแก่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2535)
                               นอกจากนี้ได้รายงานว่า ประเทศไทยมีเนื้อที่ทั้งหมด 320.7  ล้านไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่มีการ
                       สูญเสียดินอยู่ระหว่าง 0-50  ตันต่อไร่ต่อปี โดยภาคใต้มีการสูญเสียดินระหว่าง 0-50  ตันต่อไร่ต่อปี

                       ภาคเหนือมีการสูญเสียดินระหว่าง 0-38  ตันต่อไร่ต่อปี ภาคกลางมีการสูญเสียดินระหว่าง 0-17  ตัน
                       ต่อไร่ต่อปี ภาคตะวันออกมีการสูญเสียดินระหว่าง 0-16 ตันต่อไร่ต่อปี ภาคตะวันตกมีการสูญเสียดิน
                       ระหว่าง 0-10 ตันต่อไร่ต่อปี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการสูญเสียดินระหว่าง 0-4 ตันต่อไร่ต่อปี
                       ในขณะที่กรมพัฒนาที่ดินได้ก าหนดปริมาณการสูญเสียสูงสุดที่ยอมรับได้ส าหรับดินในประเทศไทยเป็น
                       2 ตันต่อไร่ต่อปี หรือเทียบเท่ากับ 0.96 มิลลิเมตรต่อปี การสูญเสียในระดับนี้จะไม่ท าให้สมรรถนะของ

                       ดินส าหรับการเกษตรเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 25 ปี (กรมพัฒนาที่ดิน, 2552)
                               ปัจจัยทั่วไปของพื้นที่สูงที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วย พื้นที่ลุ่มน้ า หมายถึง พื้นที่
                       ซึ่งล้อมรอบด้วยสันปันน้ า (divide) เป็นพื้นที่ที่รับน้ าฝนของแม่น้ าสายหลักในลุ่มน้ านั้นๆ เมื่อฝนตกลง

                       มาจะไหลออกสู่ล าธารสายย่อยๆ (sup-order) แล้วรวมกันออกสู่ล าธารสายใหญ่ (order) และรวมกัน
                       ออกสู่แม่น้ าสายหลัก (main stream) จนไหลออกปากน้ า (outlet) และมีการก าหนดชั้นคุณภาพลุ่ม
                       น้ าตามมติคณะรัฐมนตรีแบ่งออก 5 ระดับ คือ พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 1 เป็นพื้นที่ลุ่มน้ าสงวนไว้เป็นพื้นที่ต้น
                       น้ าล าธารโดยเฉพาะ พื้นที่ลุ่มน้ าชั้น 1B  เป็นพื้นที่ที่สภาพป่า ส่วนใหญ่ถูกท าลาย ดัดแปลง หรือ

                       เปลี่ยนแปลง เพื่อการพัฒนาหรือการใช้ที่ดินรูปแบบอื่นก่อน พ.ศ. 2525 พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 2 เป็นพื้นที่
                       ที่เหมาะสมต่อการเป็นต้นน้ าล าธารในระดับรองจากกลุ่มชั้นที่ 1 พื้นที่ลุ่มน้ าชั้นที่ 3 เป็นพื้นที่ที่
                       สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งการท าไม้ เหมืองแร่ และการปลูกพืชกสิกรรมประเภทไม้ยืนต้น พื้นที่ลุ่มน้ า
                       ชั้นที่ 4 สภาพป่าของลุ่มน้ าถูกบุกรุกแผ้วถางใช้ประโยชน์ เพื่อกิจกรรมพืชไร่เป็นส่วนใหญ่ และพื้นที่

                       ลุ่มน้ าชั้นที่ 5 โดยทั่วไปเป็นที่ราบหรือที่ลุ่มหรือเนินเอียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ป่าไม้ได้ถูกแผ้วถางเพื่อ
                       ประโยชน์ทางกสิกรรม โดยเฉพาะการท านาและกิจกรรมอื่นๆ (ค ารณ, 2552)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33