Page 27 - ผลสำเร็จของการดำเนินงาน โครงการพัฒนาที่ดินชุมชนบนพื้นที่สูง บ้านมณีแก้ว หมู่ที่ 8 ตำบลห้วยมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
17
หมู่บ้านทั้งหมด 3,829 กลุ่มบ้านใน 20 จังหวัด โดยส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ในจังหวัดภาคเหนือ 13
จังหวัด จ านวน 851,282 คน หรือร้อยละ 88.22 ของประชากรชาวเขาทั้งประเทศ โดยจังหวัด
เชียงใหม่มีชาวเขามากที่สุด จ านวน 244,291 คน คิดเป็นร้อยละ 25.31 รองลงมาคือจังหวัดตากและ
จังหวัดเชียงราย มีจ านวน 130,065 คน และ 130,054 คน ตามล าดับ คิดเป็นร้อยละ 13.47
(สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), ม.ป.ป.)
ปัญหาบนพื้นที่สูงอาจจ าแนกได้หลายลักษณะ ได้แก่
1) ประชากรบนพื้นที่สูงทั่วไปมีสภาพยากจน จากการส ารวจเพื่อจัดท าแผนแม่บทการ
พัฒนาเกษตรที่สูงในภาคเหนือตอนบน 9 จังหวัด โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2547 พบว่า
เกษตรกรทั่วไปมีรายได้เฉลี่ยเพียงปีละ 31,126 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งต่ ากว่าค่าเฉลี่ยรายได้ของ
เกษตรกรในภาคเหนือกว่าเท่าตัว (69,373 บาทต่อครัวเรือนต่อปี) สาเหตุส าคัญเกิดจากเกษตรกร
สร้างผลผลิตได้น้อย ต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่ราคาผลผลิตค่อนข้างต่ าและค่อนข้างผันผวน
นอกจากนี้เกษตรกรยังมีช่องทางการตลาดน้อย และไม่มีโอกาสสร้างรายได้นอกภาคการเกษตร
เท่าที่ควร
2) มีระบบการผลิตที่ใช้สารเคมีเกษตรอย่างไม่เหมาะสม ท าให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมี
เกษตร เกิดการตกค้างทั้งในผลผลิตและในสิ่งแวดล้อมทั้งดินและน้ า สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องมาจาก
เกษตรกรบนพื้นที่สูงยังขาดความรู้และทักษะในการเพาะปลูกที่เหมาะสม และส่งผลกระทบต่อระบบ
ทรัพยากรน้ าและผู้ที่อยู่อาศัยบนพื้นราบด้วย
3) พื้นที่ท ากินเสื่อมโทรม พื้นที่ท าการเกษตร ร้อยละ 96.48 ของพื้นที่สูงใน 12 จังหวัดของ
ภาคเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีความลาดเทมาก ท าให้เกิดปัญหาการชะล้างพังทลายหน้าดิน โดยเฉพาะใน
ระบบการท าการเกษตรแบบตัดและเผา ที่เปิดหน้าดินโล่งรับแรงปะทะกับเม็ดฝนโดยตรง และไม่มี
ระบบชะลอการไหลของน้ าฝนที่ไหลบ่าไปตามความลาดชัน หน้าดินที่ถูกชะล้างไปทุกปีท าให้พื้นที่
เกษตรเหลือแต่ดินชั้นล่างที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า และเป็นดินปนหิน
4) ปัญหาการบุกรุกเพื่อหาพื้นที่ท ากินใหม่ สาเหตุเกิดจากการที่ผลผลิตต่อพื้นที่ต่ าลง ข้าว
และอาหารที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค หรือผลผลิตที่ได้ไม่พอส าหรับขายเป็นรายได้เลี้ยง
ครอบครัว จึงต้องเพิ่มผลผลิตโดยเพิ่มพื้นที่ปลูก นอกจากนี้ยังเกิดจากการเพิ่มขึ้นของประชากรใน
ครัวเรือน การอพยพเข้ามาของประชากรจากนอกประเทศและจากพื้นราบของประเทศไทย ท าให้เกิด
การบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้นเป็นล าดับ ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะระหว่าง
ชุมชนบนพื้นที่ต้นน้ าและพื้นที่ท้ายน้ า รวมไปถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชน เนื่องจากต่างมี
จุดยืนและมุมมองการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติต่างกัน ทั้งทรัพยากรดิน น้ า และป่าไม้ โดย
ร้อยละ 77.74 ของครัวเรือนเกษตรกรบนพื้นที่สูงใน 12 จังหวัด ยังอาศัยการตัดไม้เพื่อการใช้
ประโยชน์ในครัวเรือน
5) ปัญหาด้านสังคมในอนาคต ชุมชนชาวเขาอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย และมีวัฒนธรรม
เฉพาะ อาศัยกฎระเบียบชุมชน และความเชื่อทางศาสนาเป็นกรอบการด ารงชีวิต และการสร้างความ
สงบสุขในสังคม ลักษณะเช่นนี้ท าให้ชุมชนมีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงน้อย ปัจจุบันสังคมของ
ชุมชนชาวเขาเปิดสู่สังคมภายนอกมากขึ้น ท าให้มีความล่อแหลมต่อปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาเยาวชน
การขาดจิตส านึกต่อสังคม การแพร่ระบาดของยาเสพติด โรคเอดส์ รวมทั้งปัญหาด้านความมั่นคงตาม