Page 187 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 187

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-127






                              13) ข้าวหอมของประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อ แจ๊สแมน (Jazzman) คล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิไทย
                      ที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า จัสมิน(Jasmine)  ข้าวหอมสหรัฐอเมริกาวางขายในประเทศภายใต้ตราสินค้า

                      หลากหลาย เช่น Jazzmen  Rice  LLC  การใช้ตราสินค้าคล้ายคลึงกับข้าวหอมมะลิไทยทําให้ผู้บริโภค
                      เข้าใจว่าเป็นข้าวหอมมะลิไทยได้นอกจากนี้อาจมีการปลอมปนข้าวหอมมะลิไทยที่ปลายทางโดยมีผู้นําเข้า

                      ประเทศ ทําให้ไทยเสียเปรียบคู่แข่งขันและเสียภาพพจน์ข้าวหอมมะลิไทยได้
                              14)  การผสมข้าวไทยในประเทศจีน โดยจีนซื้อข้าวหอมปทุมธานี (ลักษณะใกล้เคียง

                      กับข้าวหอมมะลิ) จากประเทศไทยและนําไปผสมกับข้าวเมล็ดยาวของประเทศจีน (Local long grain rice)เพื่อ

                      ลดกลิ่นหอมของข้าวไทยและลดต้นทุนการผลิต นําข้าวที่ผสมแล้วไปใส่บรรจุภัณฑ์และจัดจําหน่าย
                      ทั้งภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศในราคาตํ่า

                              15)  ประเทศเวียดนามผู้ส่งออกข้าวอันดับสองของโลกรองจากประเทศไทย ทําตลาดเชิงรุก
                      มาโดยตลอดพยายามแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดข้าวจากไทยด้วยกลยุทธ์ด้านราคาและลดค่าเงินทําให้

                      ราคาข้าวของประเทศเวียดนามตํ่าลง ประกอบกับราคาข้าวและต้นทุนการผลิตตํ่ากว่าราคาข้าว
                      ประเทศไทยมาก นอกจากนี้ประเทศเวียดนามยังรับซื้อข้าวเปลือกจากประเทศกัมพูชาและลาว

                      เมื่อนําผลผลิตไปรวมกับข้าวที่ประเทศเวียดนามผลิตได้จะทําให้ราคาข้าวส่งออกโดยเฉลี่ยของประเทศ
                      เวียดนามลดลงและมีปริมาณข้าวมากขึ้น สําหรับการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นการแย่งชิง

                      ตลาดข้าวของไทยได้มากขึ้น
                              16)  ประเทศเมียนมาร์และกัมพูชา เพิ่มกําลังการผลิตโดยพัฒนาพันธุ์ข้าวและระบบ

                      ชลประทานในประเทศสามารถส่งออกข้าวเป็นคู่แข่งรายใหม่ในตลาดข้าวของไทย เนื่องจากราคาตํ่ากว่า

                      ข้าวไทยมาก นอกจากนี้ประเทศกัมพูชาและลาว ผลิตข้าวส่งขายให้ประเทศเวียดนามแปรรูปทําให้
                      ประเทศเวียดนามคู่แข่งที่สําคัญของประเทศไทยมีปริมาณข้าวส่งออกมากขึ้น
                              17)  ประเทศคู่ค้าข้าวของประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการซื้อข้าวโดยหันไปซื้อข้าวราคาตํ่า

                      จากประเทศผู้ผลิตรายอื่น เช่น ประเทศเวียดนาม เมียนมาร์และกัมพูชา

                              18)  การลักลอบนําเข้าข้าวเปลือกจากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ในโครงการ/
                      มาตรการแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาล มีผลกระทบต่อชาวนาไทยที่ทําให้ปริมาณข้าวไทยที่จะได้สิทธิ

                      รับจํานําลดลง
                              19)  ข้อตกลงเขตการค้าเสรี อาเซียน (FTA)  ไม่มีการเก็บภาษีสินค้าเกษตรและไม่มีข้อจํากัด

                      ของจํานวนสินค้านําเข้า มีผลกระทบต่อข้าวไทยโดยข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านจะเข้ามาสวมชื่อเป็นข้าวไทย
                      เพื่อการส่งออกและอ้างถึงแหล่งที่มาจากประเทศไทย ซึ่งข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมีคุณภาพและ

                      ราคาตํ่ากว่าข้าวไทยมาก เมื่อมีการส่งออกไปต่างประเทศจะทําให้เสียภาพพจน์ข้าวไทย และประเทศผู้ซื้อ
                      ขาดความเชื่อถือเพราะมองว่าเป็นข้าวจากประเทศไทย
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192