Page 191 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 191

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          4-3





                      ปริมาณและมูลค่าการส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลกเป็นระยะเวลามากกว่า 30 ปีก่อให้เกิดรายได้
                      นําเข้าประเทศปีหนึ่งๆ เป็นเงินมูลค่าจํานวนมาก แต่การผลิตและการตลาดข้าวไทยยังประสบปัญหา

                      สําคัญ ดังนี้
                              1)  อุปทานไม่สมดุลกับอุปสงค์ขาดการวางแผนการผลิตและการตลาดที่ดี

                                 ในช่วงปี 2550-2552 ชาวนาทั้งประเทศจะปลูกข้าวเฉลี่ยปีละ 69 ล้านไร่ (นาปี 57 ล้านไร่
                      นาปรัง 12 ล้านไร่) ได้ผลผลิตเฉลี่ยปีละ 31 ล้านตันข้าวเปลือก (นาปี 23 ล้านตันข้าวเปลือก นาปรัง 8

                      ล้านตันข้าวเปลือก) แต่หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว (ปี 2553-2554)

                      และนโยบายรับจํานําข้าวเปลือก (ปี2555-2557)ชาวนาทั้งประเทศหันมาปลูกข้าวมากขึ้นเฉลี่ยปีละ 81
                      ล้านไร่ (นาปี 65ล้านไร่ และนาปรัง 16 ล้านไร่) ได้ผลผลิตเฉลี่ยปีละ 37 ล้านตันข้าวเปลือก (นาปี 27 ล้าน

                      ตันข้าวเปลือก นาปรัง 10ล้านตันข้าวเปลือก) ในขณะที่การส่งออกข้าวในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทย
                      กลับส่งออกลดลงจากเดิม (ปริมาณการส่งออกจากปี 2551/52-ปี 2553/54 จํานวน 8.57-10.647 ล้านตัน

                      ข้าวสาร ปี 2554/55 ถึง 2556/57 จํานวน 6.95 6.72 และ9.5 ล้านตันข้าวสาร ตามลําดับ) จะเห็นว่าได้ว่า
                      ปริมาณผลผลิตข้าวสูงกว่าปริมาณส่งออกเป็นจํานวนมาก จึงทําให้อุปทานไม่สมดุลกับอุปสงค์

                              2)  ประสิทธิภาพการผลิตข้าวตํ่าและต้นทุนการผลิตสูง
                                 ผลผลิตข้าวเปลือกในฤดูนาปี  ปี  2556/57 เฉลี่ยจํานวน 436 กิโลกรัมต่อไร่ ตํ่ากว่า

                      ประเทศผู้ผลิตข้าวที่สําคัญหลายประเทศ เนื่องจากพื้นที่การปลูกข้าวอาศัยนํ้าฝนมีถึงร้อยละ 78 แต่มี
                      พื้นที่อยู่ในเขตชลประทานเพียง 28 ล้านไร่ หรือร้อยละ 22 ดินเสื่อมโทรมมากขึ้น การใช้ที่ดินและจัดการ

                      ดินที่ไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน และต้นทุนการผลิตข้าวสูงขึ้นทุกปี ทั้งค่าแรงงาน ค่าปุ๋ ยเคมี ค่า

                      สารเคมี และค่าเมล็ดพันธุ์เนื่องจากชาวนาใช้กรรมวิธีการผลิตที่ยังไม่ถูกต้องเหมาะสม ต้นทุนการผลิต
                      ข้าวของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2553-2557 โดยในปี 2557/58 ต้นทุนการผลิตข้าวนาปีเพิ่มขึ้น

                      เป็น 10,831 บาท ต่อตัน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่มีสัดส่วนสูง 3 อันดับแรก คือ ค่าปุ๋ ย ค่าเช่าที่ดิน และค่าแรงงาน
                      ในการเตรียมดิน ในขณะที่ต้นทุนการผลิตข้าวของคู่แข่งอื่นๆ เช่น เวียดนามและพม่า อยู่ที่ 5,615 บาทต่อ

                      ตัน และ 5,353 บาท ต่อตันตามลําดับ ขาดการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพและ
                      สอดรับกันทั้งระบบ ตั้งแต่การขนส่งและจัดเก็บปัจจัยการผลิตการเก็บรักษาผลผลิต จนถึงการขนส่ง

                      ผลผลิตไปจําหน่ายให้ผู้รับซื้อข้าว จึงเป็นข้อจํากัดของข้าวไทยในการแข่งขันกับต่างประเทศในการ
                      ส่งออกข้าวไปยังตลาดโลก

                              3)  การแปรรูปและผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ยังมีน้อย
                                 การแปรรูปและผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมข้าว จําแนกได้ 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มผลิตภัณฑ์

                      อาหาร (Foods) เช่นอาหารหลัก อาหารว่าง อาหารหวาน เครื่องดื่ม เครื่องปรุง และ 2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่

                      ไม่ใช่อาหาร (Non-Foods) เช่น ส่วนผสมในอาหารสัตว์ เครื่องสําอาง ผ้า วัสดุ ถึงแม้ผลิตภัณฑ์จากข้าวจะมี
   186   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196