Page 192 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 192

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                          4-4





                      ความหลากหลาย แต่มีการผลิตและแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรมและการเพิ่มมูลค่ายังมีน้อยมาก และ
                      เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ข้าวแช่เยือกแข็ง ข้าวบรรจุกระป๋ อง ข้าวผสม

                      ธัญหาร ข้าวสุกหุงเร็ว ครีมนวดผมจากนํ้ามันรําข้าว ครีมบํารุงผิว แชมพู ผงขัดหน้า ครีมไวเทนนิ่ง
                              4)  ชาวนาและองค์กรชาวนายังไม่เข้มแข็งและขาดเอกภาพ

                                 ชาวนาและการรวมกลุ่มยังขาดความเข้มเเข็ง เนื่องจากส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ร้อยละ 40 มี
                      รายได้ตํ่ากว่าเส้นความยากจน ส่วนใหญ่สูงอายุโดยอายุเฉลี่ย 56 ปี ร้อยละ 33 อายุเกิน 60 ปี การศึกษาน้อย จบ

                      การศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 80 มีเพียงร้อยละ 1 จบอุดมศึกษา มีพื้นที่ทํากินน้อย มีพื้นที่นา

                      เฉลี่ยครัวเรือนละ 18 ไร่ มีพื้นที่ถือครองน้อย เฉลี่ย 26 ไร่ร้อยละ 70 มีพื้นที่น้อยกว่า 30 ไร่ส่วนใหญ่เป็น
                      พื้นที่นานํ้าฝน มีความเสี่ยงเรื่องภัยธรรมชาติ รายได้จากการทํานาไม่แน่นอน ไม่เพียงพอกับการเลี้ยงชีพ

                      ขาดเงินทุนในการพัฒนาอาชีพต้องเผชิญกับความยากลําบาก ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขาดสวัสดิการในยาม
                      ชราภาพ ทุพพลภาพ

                                 ลูกหลานชาวนาและเยาวชนขาดความสนใจที่จะสืบทอดอาชีพทํานา เนื่องจากเห็นว่า
                      เป็นอาชีพที่ลําบาก รายได้ไม่เพียงพอกับการยังชีพ ขาดสวัสดิการหรือระบบการประกันภัยที่เหมาะสม

                      ชาวนาหลุดจากฐานชุมชนของที่นาที่เคยเป็นเจ้าของ ต้องเช่าที่นาเพื่อทํานา ลูกหลานชาวนาและ
                      เยาวชนจึงไม่มีแรงบันดาลใจที่จะสืบสานอาชีพทํานา

                                 องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวและชาวนาจํานวนมากซึ่งถูกจัดตั้ง
                      ขึ้นมาตามวัตถุประสงค์ที่กลุ่มบุคคลทั่วไปประกอบอาชีพเหมือนกันต้องการแก้ปัญหาของตนเป็นหลัก

                      สมาคมต่างๆยังขาดความเป็นเอกภาพในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการผลิตข้าวของชาวนา

                              5)  ปริมาณสต็อกข้าวของรัฐบาลมีจํานวนมาก
                                 จากผลการรับจํานําข้าวของรัฐบาลที่ผ่านมาส่งผลให้ปริมาณข้าวในสต็อกของรัฐบาลมีจํานวน

                      มากประกอบกับการพิจารณาระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลจะต้องดําเนินการด้วยความระมัดระวัง
                      ช่วงระยะเวลาที่จะระบายข้าวจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ข้าวในประเทศ

                              6)  กลไกตลาดภายในประเทศยังไม่สมบูรณ์
                                 เนื่องจากผู้ส่งออกข้าวที่เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของประเทศไทยมีจํานวนน้อย แต่เป็นผู้

                      ชี้นําราคาข้าวภายในประเทศ โดยเป็นผู้กําหนดราคาและเงื่อนไขในการรับซื้อข้าวจากโรงสี ทําให้

                      กลไกตลาดในประเทศยังขาดประสิทธิภาพ
                              7)  การซื้อขายข้าวในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยมีปริมาณน้อย

                                 ผู้ประกอบการค้าข้าวเข้ามาทําการซื้อขายข้าวในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า มีจํานวน
                      และปริมาณน้อยจึงควรดําเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการค้าข้าวเห็นถึงประโยชน์ใน
   187   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197