Page 186 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 186

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-126






                              4)  การกําหนดนโยบายบริหารจัดการข้าวในสต็อกของรัฐบาลไม่มีความชัดเจนทั้งด้านเวลา
                      และรูปแบบ การบริหารจัดการข้าวไม่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดโลก (ปริมาณข้าวในสต็อกของ

                      รัฐบาลและภาคเอกชนมีผลต่อการต่อรองราคาซื้อขายข้าวจากประเทศผู้สั่งซื้อ เช่นกรณีสต็อกข้าว
                      ของรัฐบาลมีปริมาณข้าวในระดับสูงจะทําให้การต่อรองราคาซื้อข้าวไทยให้อยู่ในระดับตํ่าได้)

                              5) กลยุทธ์ของรัฐบาลด้านการตลาดไม่สามารถรักษาตลาดเดิมและเจาะขยายตลาดข้าวแห่งใหม่
                              6) ต้นทุนการผลิตข้าวและราคาส่งออกข้าวที่ตํ่ากว่าของประเทศคู่แข่งทําให้ประเทศไทย

                      ไม่สามารถแข่งขันได้ต้องเสียตลาดข้าวบางส่วนให้กับคู่แข่ง
                              7)  ข้าวไทยถูกแอบอ้างโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิจากบรรจุภัณฑ์ที่ระบุผลิตภัณฑ์และ

                      เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงข้าวหอมมะลิไทย นอกจากนี้ตราเครื่องหมายสินค้าข้าวหอมมะลิไทย
                      ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในบางประเทศ (แต่รู้จักข้าวหอมมะลิไทย)  ทําให้ประเทศไทยสูญเสีย
                      ส่วนแบ่งการตลาดได้ง่าย

                              8)  แผนยุทธศาสตร์และยุทธศาสตร์ข้าวไทยไม่ชี้ชัดและแยกแยะให้ชัดเจนระหว่าง

                      การช่วยเหลือชาวนาและการแข่งขันด้านธุรกิจ ข้าวชนิดใดที่สมควรมีราคาสูงและชนิดใดที่ควรมีราคาตํ่า
                      เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถแข่งขันในตลาดได้ตามกลไกการตลาดที่เปิ ดเสรีมากขึ้นและ
                      จะส่งเสริมอย่างไรเพื่อให้เกิดการแข่งขันหากไม่มีการกําหนดยุทธศาสตร์ข้าวให้ชัดเจนในวันข้างหน้า

                      ประเทศไทยจะไม่มีศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง โดยเฉพาะประเทศเวียดนามที่สามารถ

                      เบียดแย่งตลาดข้าวไทยเกือบทุกชนิดได้แล้ว
                              9)  การมีหน่วยงานและองค์กรหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเรื่องข้าว
                      ของประเทศไทย ทําให้ขาดเอกภาพด้านการดําเนินงาน การประสานงาน และการกําหนดนโยบาย

                      มาตรการต่างๆ อาจไม่ทันเหตุการณ์กับสภาวะการค้าและการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

                              10)  ประเทศผู้ผลิตและนําเข้าข้าวมีนโยบายขยายพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของ
                      ประเทศและปลูกข้าวพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง เพื่อทดแทนการนําเข้าทําให้การค้าข้าวในตลาดโลกลดลง
                              11) กลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าว เช่น ประเทศจีน เวียดนาม อินเดีย เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว

                      มีพันธุ์ข้าวที่ปลูกเพื่อการส่งออกเป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง ทนทานต่อโรคพืช (ผลผลิตต่อไร่
                      ประมาณ 1-2 ตันต่อไร่)

                              12)  คู่แข่งการผลิตและการค้าข้าวของประเทศไทยมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวหอมและข้าวคุณภาพดี
                      อย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศจีน เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อไปจะทําให้ประเทศไทยสูญเสีย

                      ตลาดข้าวหอมได้ เนื่องจากประเทศคู่ค้าสามารถผลิตได้เองโดยเฉพาะประเทศจีนและ สหรัฐอเมริกา
                      ต่างพัฒนาข้าวหอมให้เท่าเทียมกับข้าวหอมมะลิของไทย ส่วนประเทศเวียดนามปลูกข้าวหอมส่งออก

                      เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิและข้าวปทุมธานีของไทย ทําให้ไทยสูญเสียตลาดข้าวบางส่วนใน
                      ประเทศสิงคโปร์และฮ่องกงให้กับข้าวหอมมะลิเวียดนาม
   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191