Page 185 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 185

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-125






                              11)  ประเทศไทยจะเป็นครัวของโลก รัฐบาลได้กําหนดเป็นนโยบายให้ประเทศไทยเป็น
                      ครัวของโลก และข้าวเป็นสินค้าหนึ่งที่สามารถผลักดันควบคู่กับอาหารไทยในครัวโลกได้ นอกจากนี้

                      รัฐบาลยังให้มีการจัดทําและดําเนินการเรื่อง “ข้าวธัญญาหารแห่งชาติ”
                              12)  ประเทศไทยมีการจัดทํานโยบายข้าวและยุทธศาสตร์ข้าวมาโดยตลอด เพื่อเป็น

                       การกําหนดแนวทางและดําเนินการในการพัฒนาการผลิตและการตลาดข้าวไทย (ร่าง) ยุทธศาสตร์
                      ข้าวไทย ฉบับที่ 2 ปี 2555-2559

                              13) มีองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการข้าว

                      ได้แก่กรมการข้าว กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ
                      (กขช.)  องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและ

                      สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย และสมาคมโรงสีข้าวไทย เป็นต้น
                              14)  ประเทศเวียดนามผลิตข้าวขาวและข้าวหอมแข่งขันกับประเทศไทยในตลาดโลก

                       แต่คุณภาพข้าวของประเทศเวียดนามตํ่ากว่า ข้าวเวียดนามจึงเสียเปรียบเมื่อเปรียบเทียบกับข้าวไทย
                              15)  ข้าวหอมมะลิของประเทศสหรัฐอเมริกา พัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการนําเข้า และ

                      แข่งขันกับข้าวหอมมะลิของประเทศไทย แต่คุณภาพไม่ทัดเทียมโดยเฉพาะกลิ่นไม่หอมเหมือน
                      ข้าวหอมมะลิไทย ข้าวดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดข้าวหอมมะลิไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา

                      เนื่องจากในความเป็ นจริงข้าวแต่ละชนิดจะเป็ นที่ยอมรับจากตลาดต้องใช้เวลาหลายปี และ
                      ข้าวหอมมะลิไทยเป็นสินค้าพรีเมี่ยมที่ตลาดยอมรับมานานในประเทศสหรัฐอเมริกา

                               ข้อจํากัด

                              1)  การกําหนดนโยบาย/มาตรการแทรกแซงราคาข้าวนาปีของรัฐบาลไม่ชัดเจน ไม่ทัน
                      ต่อเหตุการณ์และความต้องการของตลาด

                              2)  มาตรการแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาล (โครงการรับจํานําข้าวเปลือก/โครงการ
                      ประกันรายได้เกษตรกร) มีจุดประสงค์เพื่อยกระดับราคาข้าวภายในประเทศให้สูงขึ้น มีผลทําให้

                      ราคาข้าวส่งออกสูงขึ้นไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่ราคาตํ่าได้ เช่น ประเทศเวียดนาม กัมพูชา
                      และ เมียนมาร์ เป็นต้น

                              3)  มาตรการแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาล (โครงการรับจํานําข้าวเปลือก/โครงการประกัน
                      รายได้เกษตรกร) จํากัดทั้งวงเงินดําเนินการวงเงินรับซื้อจากเกษตรกรแต่ละราย ปริมาณข้าวที่รับซื้อชนิด

                      พันธุ์ข้าว และระยะเวลาการรับซื้อทําให้การใช้มาตรการดังกล่าวไม่ทั่วถึงและไม่เพียงพอกับ
                      ปริมาณข้าวและระยะเวลาที่เกษตรกรต้องการเข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้เกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วม

                      โครงการต้องลงทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีเท่านั้น
   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189   190