Page 183 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 183

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-123






                              3)  ชาวนาส่วนใหญ่ขาดอํานาจในการขายข้าวและบางส่วนไม่รู้ข้อมูลข่าวสารที่แท้จริง
                      ลักษณะการขายต่างคนต่างขาย ไม่รวมกลุ่มกันขายโดยเฉพาะข้าวนาปีมีความชื้นสูง กระจุกตัว

                      ในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาด เกษตรกรจะขายได้ในระดับราคาตํ่า
                              4)  ราคาข้าวส่งออกสูง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงและมาตรการแทรกแซงราคาข้าวของรัฐบาล

                      ทําให้ไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่งได้และราคาข้าวหอมมะลิไทยมีราคาสูง เนื่องจาก
                      คุณภาพดีทําให้ประเทศผู้นําเข้าหันไปซื้อข้าวที่มีคุณภาพทดแทนกันได้จากประเทศผู้ผลิตรายอื่น

                              5) การปลอมปนข้าวโดยการผสมข้าวพันธุ์อื่น โดยผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเกิดขึ้นในตลาดทุกระดับ

                      ทั้งข้าวเปลือกและข้าวสารทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งบางชนิดตรวจสอบยากหากข้าวที่ถูกปลอมปน
                      ส่งออกไปต่างประเทศจะทําให้ความเชื่อถือในคุณภาพข้าวไทยลดลง

                              6)  ข้าวหอมมะลิที่มีการปนเปื้อนกับข้าวชนิดอื่นจากการทํานาปีสลับนาปรัง (นาปีปลูก
                      ข้าวหอมมะลิ นาปรังปลูกข้าวหอมพันธุ์ปทุมธานี 1 และชัยนาท1) ทําให้ข้าวหอมมะลิไม่ได้มาตรฐาน

                      การส่งออก (มาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ต้องมีข้าวหอมมะลิไม่น้อยกว่า
                      ร้อยละ 92 หรือให้มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกินร้อยละ 8)

                              7) ผู้ส่งออกข้าวไทยบางส่วนไม่ใช้ตราสินค้าของตนเอง (ส่วนใหญ่ประเทศผู้นําเข้าจะใช้
                      ตราสินค้าข้าวในประเทศตนเอง)  ทําให้ข้าวไทยไม่เป็นที่รู้จักและการยอมรับจากผู้บริโภคหรือ

                      ทําให้สูญเสียโอกาสที่ข้าวไทยจะได้เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
                              8) การแข่งขันกันเองของผู้ส่งออกข้าวไทย เนื่องจากเป็นการค้าเสรีมีผู้ส่งออกจํานวนมากราย

                      อาจมีการกีดกันและแข่งขันกันเอง

                              9)  การแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่ายังอยู่ในระดับตํ่าส่วนใหญ่เป็นการแปรรูปขั้นต้น คือ
                      สีข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร นอกจากนี้มีการแปรรูปอย่างง่ายเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ และปริมาณการส่งออก
                      ไม่มากนัก เช่น แป้งข้าวเจ้า แป้ งข้าวเหนียว เส้นหมี่เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมอบกรอบ ข้าวปรุงแต่ง เป็นต้น

                      เนื่องจากการส่งเสริมด้านการตลาดยังมีไม่มากนัก

                               โอกาส
                              1)  นโยบายแทรกแซงการตลาดข้าวของรัฐบาล (มาตรการรับจํานําข้าวเปลือกนาปี /

                      มาตรการประกันรายได้เกษตรกร) เพื่อยกระดับราคาข้าวทําให้เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาที่สูงกว่า
                      ราคาตามกลไกตลาด

                              2)  มาตรการรองรับการบริหารจัดการข้าวนําเข้า เพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐานข้าวไทย
                      คุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคข้าวไทย ป้ องกันการระบาดของโรคและศัตรูข้าวร่วมทั้งป้ องกัน

                      การนําเข้าข้าวมาสวมสิทธิ์ในโครงการแทรกแซงของรัฐบาลและป้ องกันการนําเข้าข้าวที่มีการตัดแต่ง

                      พันธุกรรม (GMOs)
   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188