Page 184 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 184

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-124






                              3)  รัฐบาล (กรมการค้าต่างประเทศ)  วางเป้ าหมายการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุน
                      การส่งออกข้าวไทย โดยเน้นการสร้างภาพลักษณ์ให้ข้าวไทย เช่น การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่

                      ภาพลักษณ์ข้าวหอมมะลิไทยในต่างประเทศ การเจรจาแก้ไขอุปสรรคการนําเข้าในตลาดต่างประเทศ
                      สนับสนุนการผลิตและการส่งออกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ข้าวกล้องอนามัย ข้าวสังข์หยด เพื่อเป็นสินค้า

                      สุขภาพ ระดับบน ประชาสัมพันธ์ตราเครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทยเพื่อให้ผู้บริโภครู้จัก
                      แพร่หลาย จัดคณะผู้แทนการค้าภาครัฐและเอกชนเดินทางไปขยายตลาด (รักษาตลาดเดิมและ

                       เพิ่มตลาดใหม่) เป็นต้น
                              4)  กลยุทธ์การส่งออกข้าวของรัฐบาล ได้แก่ การระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลใน

                      ช่วงเวลาที่เหมาะสม การเปิดเจรจาการซื้อขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (G  to  G)  กับต่างประเทศ
                      ที่ไม่ใช่คู่แข่งของเอกชน ลดต้นทุนการผลิต การรักษาคุณภาพมาตรฐานข้าวนึ่ง ขยายตลาดเชิงรุก
                      โดยมุ่งรักษาตลาดเดิม ส่งเสริมให้เอกชนพัฒนาบรรจุภัณฑ์และส่งออกข้าวในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ต่างๆ

                      เป็นต้น

                              5)  การขยายการค้าตามข้อตกลงระหว่างประเทศ การเปิดตลาดของประเทศสมาชิก
                      องค์การการค้าโลก (WTO)  และการค้าเสรีอาเซียน (FTA)  มีผลดีต่อไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและ
                      มีศักยภาพ ในการส่งออก สามารถขยายตลาดได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีข้าวหลากหลายชนิด

                      ให้เลือกตามความต้องการของผู้บริโภค

                              6)      การเกิดวิกฤตการณ์ด้านอาหารของโลก ผลผลิตข้าวโลกลดลงอันเนื่องมาจาก
                      ภาวะโลกร้อน ภัยพิบัติธรรมชาติ ผลผลิตพืชเสียหายทําให้ความต้องการข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น
                              7)  เกิดการแข่งขันของพืชอาหารและพืชพลังงาน เนื่องจากราคานํ้ามันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                      จึงเป็นโอกาสของธัญพืชและพืชไร่ที่มีความต้องการของตลาดสูงขึ้น

                              8)  ความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีแนวโน้มที่
                      ประชากรให้ความสําคัญต่อสุขภาพของตัวเองและสภาพแวดล้อมมากขึ้น ส่งผลให้มีการเลือก
                      บริโภคสินค้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ข้าวอินทรีย์ ข้าวแดง และข้าวดํา เป็นต้น โดยเฉพาะ

                      ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น
                              9)  ความต้องการผลิตภัณฑ์แปรรูปที่พร้อมบริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันวิถีชีวิต

                      ของประชากร ในเมืองต้องทํางานแข่งขันกับเวลา แนวโน้มการบริโภคอาหารสําเร็จรูป (แปรรูปจากข้าว)
                      เพื่อความสะดวก จะมีเพิ่มขึ้น

                              10)  ประชากรทั่วโลกนิยมบริโภคข้าวและอาหารเอเชียมากขึ้นรวมทั้งภัตตาคารและ
                      ร้านอาหารไทยตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกเป็นที่นิยมและมีการขยายตัวมากขึ้น ทําให้ความต้องการข้าว

                      ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทยเป็นที่รู้จักและนิยมบริโภคมากจากชาวเอเชียที่ไป
                      อาศัยอยู่ตามทวีปต่างๆ ของโลก
   179   180   181   182   183   184   185   186   187   188   189