Page 181 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 181

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-121






                              4)  มีการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง พัฒนาพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง
                      และทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เช่น พันธุ์ข้าวนาปีที่ทนทานต่อสภาพอากาศหนาว

                      ในช่วงที่กําลังเจริญเติบโต ศึกษาเทคโนโลยีวิธีการทํานาแบบใหม่ๆ และวิธีการลดต้นทุนการผลิต
                      เป็นต้น

                              5)       พื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่ของประเทศไทยสามารถปลูกได้เกือบตลอดทั้งปี ขณะที่
                      ประเทศเวียดนาม(คู่แข่งการผลิตและการค้าข้าวที่สําคัญของประเทศไทย)  ต้องประสบกับลมมรสุม

                      และนํ้าท่วมหนัก ทําให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย

                              6)  ประเทศเวียดนามขาดแคลนคลัง/ไซโลจัดเก็บข้าว การตาก และอบข้าวเปลือก ทําให้ข้าว
                      ไม่มีคุณภาพ อากาศที่มีความชื้นสูงทําให้ข้าวเปลือกเสียง่าย และข้าวหักมีสัดส่วนสูงหลังการสี

                      ข้าวเวียดนามจึงมีคุณภาพตํ่ากว่าข้าวไทย
                              7)  ข้าวหอมอเมริกา มีคุณภาพไม่ทัดเทียมข้าวหอมมะลิไทย โดยเฉพาะกลิ่นไม่หอม

                      เหมือนข้าวหอมมะลิไทย
                                 ข้อจํากัด

                              1)  การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศมีผลกระทบต่อข้าวนาปี เช่น ภาวะภัยแล้ง ทําให้
                      ผลผลิตลดลง ความแห้งแล้งจากปรากฏการณ์เอลนิโญ ทําให้ปริมาณนํ้าในเขื่อนลดลง ปริมาณนํ้า ใน

                      เขตชลประทานไม่เพียงพอสําหรับทํานา
                              2)  สภาพอากาศและอุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกออกรวงของข้าว

                      ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณผลผลิตข้าว ฝนตกในช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าวนาปี ทําให้ผลผลิตมีความชื้นสูงเป็น

                      ผลเสียต่อคุณภาพข้าวนาปี
                              3)  ประเทศผู้ผลิตข้าวค้นคว้าและพัฒนาพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศจีนและ

                      สหรัฐอเมริกา พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมให้ใกล้เคียงและทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิของไทย โดยพันธุ์
                      ข้าวหอมมะลิของสหรัฐอเมริกา ชื่อ แอลเอ 2125  และได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่ามีคุณภาพ

                      ทัดเทียมกับข้าวหอมมะลิไทยและตั้งชื่อคล้ายคลึงกันว่า แจ๊สแมน เพื่อแข่งขันกับข้าวหอมมะลิไทย
                      ที่สําคัญ คือ ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณไร่ละ 1,265   กิโลกรัม ขณะที่ข้าวไทยมีผลผลิตต่อไร่

                      ประมาณไร่ละ 400  กิโลกรัม ข้าวแจ๊สแมนเป็นข้าวที่มีความหอมใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิไทยและมี
                      ความทนทานต่อโรคสูง นอกจากนี้ประเทศเวียดนามปลูกข้าวหอมเพิ่มขึ้นเพื่อส่งออกแข่งขันกับ

                      ประเทศไทย
                              4) กลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าวมีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและทนทานต่อโรคพืช

                              5) กลุ่มประเทศผู้ผลิตข้าวที่สําคัญของโลกมีต้นทุนการผลิตข้าวตํ่ากว่าประเทศไทย เช่น

                      ประเทศเวียดนาม จีน เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186