Page 180 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 180

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-120






                              10)  ต้นทุนการผลิตสูง เกษตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบันลดการพึ่งพาตนเอง โดยหันไปใช้
                      วิธีการจ้างบริการแทน โดยเน้นการจ้างเครื่องจักรแทบทุกขั้นตอน ซึ่งในภาวะที่ราคานํ้ามันแพงทําให้

                      ต้นทุนสูงรวมทั้งการใช้ปุ๋ ยเคมีมากกว่าปุ๋ ยชีวภาพซึ่งมีราคาตํ่ากว่าและสามารถผลิตได้เองในท้องถิ่น
                      จากผลการศึกษาการทํานาปีของประเทศต้นทุนที่เป็นค่าวัสดุการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 55 ของต้นทุนผันแปร

                      สัดส่วนค่าปุ๋ ยเคมีร้อยละ 22 ของต้นทุนผันแปร เป็นต้น
                              11)  การทํานาปีของประเทศได้รับผลตอบแทนตํ่าและได้รับรายได้จากการลงทุนตํ่า ผลการศึกษา

                      จะเห็นว่าการทํานาปีของประเทศได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรไร่ละ 2,955  บาท ผลตอบแทน

                      เหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 1,145 บาท โดยมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.21 เมื่อจําแนก
                      การทํานาปีตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่พบว่า ในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1)  ได้

                      ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 4,114  บาท อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.40
                      ในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) ได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 2,913 บาท

                      อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.24  สําหรับพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)
                      ได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 765  บาท อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 1.14

                      แสดงให้เห็นว่า การทํานาปีของประเทศ โดยได้รับรายได้จากการลงทุนตํ่า โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มี
                      ระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2)  และเหมาะสมเล็กน้อย (S3)  ซึ่งมีเนื้อที่รวมกันประมาณร้อยละ 49

                      ของเนื้อที่ที่มีความเหมาะสมสําหรับปลูกข้าวนาปีของประเทศ นอกจากนี้ยังมีการทํานาในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม
                      อีกด้วยซึ่งจะทําให้ได้ผลตอบแทนยิ่งตํ่าลง

                              12) ชาวนาส่วนใหญ่ต่างคนต่างทําต่างคนต่างขาย ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่

                      ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์และแหล่งเงินทุน ทําให้ยากต่อการรวมกลุ่มกัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ
                      และลดต้นทุนการผลิต เช่น ร่วมกันปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวโดยสามารถจ้างรถและเก็บเกี่ยวข้าวพร้อมกัน
                      เป็นที่ดินแปลงใหญ่รวมกลุ่มกันซื้อปัจจัยการผลิตและรับความช่วยเหลือด้านต่างๆ จากหน่วยงาน

                      รัฐบาล ได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

                                 โอกาส
                              1) มีการจัดทําเขตที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว (โซนนิ่ง) และการบริหารจัดการนํ้า

                              2) มีการจัดทํานโยบายและเป้าหมายการพัฒนาข้าว (ร่าง) ยุทธศาสตร์ข้าวไทยฉบับที่ 2 ปี
                      2555-2559     มีเป้ าประสงค์ให้ชาวนาและผู้ประกอบการสามารถผลิตข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว

                      ได้เพิ่มขึ้นทั้งปริมาณ คุณภาพ และมูลค่า ด้วยต้นทุนการผลิตที่ตํ่าลง
                              3) มีองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตการบริหารจัดการเรื่องข้าว ได้แก่ กรมการข้าว

                      สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมส่งเสริ มการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน

                      คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์เป็นต้น
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185