Page 179 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 179

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-119






                      กลุ่มอาหารที่ทําจากแป้งข้าว (เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ก๋วยจั๊บ เส้นขนมจีน แผ่นเมี่ยง ผงแป้งสําหรับใส่ยา
                      อาหารสําเร็จรูป/กึ่งสําเร็จรูป เป็นต้น)  กลุ่มนํ้ามันพืชจากข้าว (นํ้ามันรําข้าว)  กลุ่มขนมที่ทําจากข้าว

                      (ข้าวหอมมะลิกรอบปรุงรส แครกเกอร์คุ๊กกี้ซาลาเปา ข้าวตัง ข้าวพอง ขนมกรุบกรอบ ขนมทอด
                      เป็นต้น)  กลุ่มเครื่องดื่มที่ทําจากข้าว (นํ้านมข้าว นํ้านมข้าวยาคูนํ้าข้าวกล้องงอก ธัญญาหารสําหรับชงดื่ม

                      ไวน์ข้าว เป็นต้น)และกลุ่มอื่นๆ (อาหารเสริม แชมพูครีมบํารุงผิว ถ่านแกลบ ปุ๋ ยถ่าน เป็นต้น)
                              8) มีผู้เชี่ยวชาญ/นักวิชาการ/ปราชญ์ชาวบ้าน ด้านการพัฒนาข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว

                                 จุดอ่อน
                              1)  มีการทํานาปีในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมและทําต่อเนื่องกันโดยไม่ได้พักดินบางพื้นที่

                      ปริมาณนํ้าไม่เพียงพอและประสบปัญหาแมลงและโรคระบาด
                              2)      พื้นที่ทํานาปีและปริมาณนํ้ามีจํากัดการทํานาปีนอกพื้นที่ที่กําหนดให้จะทําให้

                      ปริมาณนํ้าไม่เพียงพอ

                              3) ข้าวนาปีประสบปัญหา ศัตรูพืชรบกวน (เพลี้ยกระโดดสีนํ้าตาลระบาด) ภัยแล้ง สภาพอากาศ
                      แห้งแล้ง ปริมาณนํ้าไม่เพียงพอ นํ้าท่วมผลผลิต โรคระบาดข้าว เป็นต้น ทําให้มีผลโดยตรงต่อคุณภาพ
                      และผลผลิตข้าวที่ได้รับมักจะไม่คุ้มกับต้นทุนการเพาะปลูก

                              4) ผลผลิตข้าวนาปีมีความชื้นสูงเนื่องจากระยะเก็บเกี่ยวตรงกับช่วงฝนตก

                              5) ข้าวนาปีมีปัญหาทางกายภาพเมื่อสีเป็นข้าวสาร คือ ข้าวจะหักป่นมาก ได้ข้าวไม่เต็มเมล็ด
                      หรือได้เนื้อข้าวค่อนข้างน้อย เนื่องจากผลผลิตมีความชื้นสูงซึ่งมีผลต่อคุณภาพข้าวนาปีโดยรวมเป็น

                      อย่างมากและทําให้เกษตรกรขายข้าวได้ในราคาตํ่า
                              6)  พันธุ์ที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวนาปีมีน้อยชนิดพันธุ์ไม่สามารถใช้พันธุ์ข้าวได้

                      ทุกชนิดพันธุ์เนื่องจากข้าวนาปีใช้ระยะเวลาเพาะปลูกสั้นและแสงแดดจะไม่มีอิทธิพลต่อการออกดอก
                      ตามอายุพันธุ์ข้าวและบางพันธุ์ไม่ทนทานต่อสภาพอากาศหนาวที่อุณหภูมิตํ่ากว่า 15-20  องศาเซลเซียส

                      โดยในช่วงข้าวนาปีเริ่มปลูกและช่วงเจริญเติบโตอากาศหนาวจะทําให้ข้าวหยุดการเจริญเติบโต
                              7)  อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์มากเกินไปเป็นการเผื่อเมล็ดไม่งอกและเกษตรกรส่วนใหญ่

                      ใช้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน (ขาดแคลนพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี)
                              8)  ลานตากข้าวมีไม่เพียงพอกับปริมาณข้าวนาปีที่ออกสู่ตลาด/ขาดแคลนเครื่องอบความชื้น

                      ข้าวเปลือก เนื่องจากระยะเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปีเป็นช่วงฝนตกชุกไม่สามารถตากข้าว เพื่อลดความชื้นได้

                      จะมีผลทําให้คุณภาพข้าวตํ่า
                              9)  การทํานาปรังทําให้เกิดปัญหาข้าวเรื้อหรือข้าวปนในข้าวหอมมะลิเช่น ข้าวปทุมธานี1

                      และข้าวชัยนาท1  ที่ปลูกในนาปรังสลับกับการทํานาปีที่ปลูกข้าวหอมมะลิการปนข้าวอื่นในข้าวหอมมะลิ
                      ทําให้ข้าวหอมมะลิไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184