Page 178 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 178

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            3-118






                               (5) ปริมาณข้าวหอมมะลิมีคุณภาพได้มาตรฐานในปีเพาะปลูก 2559/60  เพิ่มขึ้น
                      อย่างน้อยร้อยละ 20 ของปริมาณข้าวหอมมะลิมีคุณภาพได้มาตรฐานในปีเพาะปลูก 2553/54

                               (6) ชาวนาได้รับการบริการและสนับสนุนทางด้านวิชาการและข้อมูลข่าวสาร
                      ด้านข้าวตั้งแต่ปี 2555  ถึงปี 2559  เป็นจํานวนไม่ตํ่ากว่า 2  ล้านคน และศูนย์ข้าวชุมชนมีความเข้มแข็ง

                      จํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เมื่อสิ้นสุดปี2559


                      3.5  ศักยภาพ โอกาสและข้อจํากัดในการผลิตและการตลาด
                            3.51 ด้านการผลิต

                                 จุดแข็ง

                              1) ประเทศไทยอยู่ในเขตมรสุม เหมาะกับการปลูกข้าว มีพื้นที่ปลูกข้าวได้ตลอดปี
                              2) ผลผลิตข้าวนาปีของประเทศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูงโดยผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ
                      ไร่ละ 604  กิโลกรัม ในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1)  เหมาะสมปานกลาง (  S2)  และ

                      เหมาะสมเล็กน้อย (S3) ไร่ละ 718 590 และ 555 กิโลกรัม ตามลําดับ

                              3)  ข้าวนาปีสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อครบอายุเก็บเกี่ยวและมีพันธุ์หลายชนิดพันธุ์
                      ที่เหมาะสมกับการทํานาปีตามสภาพพื้นที่และระยะเวลาเพาะปลูก เช่น ข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105
                      ข้าวเจ้าชัยนาท 1  ข้าวเจ้าปทุมธานี1  ข้าวเจ้าคลองหลวง1  ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี1ข้าวเหนียว กข6  และ

                      ข้าวเหนียว กข10 เป็นต้น
                              4) ในแต่ละปีประเทศไทยมีศักยภาพการผลิตทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง ได้ปริมาณมาก

                      เกินความต้องการบริโภคภายในประเทศ ใช้บริโภคภายในประเทศโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 62.26  ต่อปี
                      ส่งออกไปขายต่างประเทศโดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 37.74 ต่อปี

                              5) ประเทศไทยมีพันธุ์ข้าวหอมคุณภาพดีหลายพันธุ์ได้แก่ข้าวหอมมะลิ (ขาวดอกมะลิ105 และ
                      กข15)  ข้าวหอมปทุมธานี1  ข้าวหอมคลองหลวง1  ข้าวหอมสุพรรณบุรีและข้าวเจ้านางมล เอส4

                      โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทยที่ตามธรรมชาติมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวที่ข้าวพันธุ์อื่นๆ
                      ไม่สามารถพัฒนาได้เท่าเทียม จึงเป็นที่เชื่อมั่นว่าข้าวหอมมะลิไทยมีคุณภาพดีที่สุดในโลก และ

                      เป็นแหล่งปลูกแห่งเดียวในโลก
                              6)  ประเทศไทยมีข้าวที่มีคุณลักษณะพิเศษและมีคุณภาพมาจากแหล่งกําเนิดที่มีชื่อเสียง

                      ได้รับการจดทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ได้แก่ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ข้าวหอมมะลิสุรินทร์
                      ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี และข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง

                              7)      ข้าวเปลือกเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมโรงสี (แปรรูปเป็นข้าวอุตสาหกรรม)
                      อาหารสัตว์และข้าวสารแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้แก่กลุ่มอาหารที่ทําจากข้าว (ข้าวสําเร็จรูป

                      บรรจุซอง/ถ้วย ข้าวสําเร็จรูปปรุงรสบรรจุซอง/ถ้วย โจ๊กบรรจุซอง/ถ้วย ธัญพืชข้าวกล้อง เป็นต้น)
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183