Page 26 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 26

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          16


               ดินที่มีการระบายน้ าแบบนี้อาจเป็นพวกที่มีหินปะปนมาก ดินตื้น มีหินที่ยังไม่สลายตัวปนอยู่ มีความลาดชันสูง
               หรือมีความพรุนมาก ดินไม่มีจุดประปรากฏให้เห็น

                           (2) ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบส (percentage of base saturation)
                              - ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสสูง (high percentage of base saturation: hb) หมายถึง
               มีค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 35
                              - ค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสต่ า (low percentage of base saturation: lb) หมายถึง

               มีค่าอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสน้อยกว่าร้อยละ 35
                           (3) ชนิดของชั้นตอนล่าง (substratum) เป็นชั้นของวัตถุต้นก าเนิดดินและชั้นหินพื้นที่อยู่ตอนล่าง
               ใช้ในกรณีที่ชั้นตอนบนและชั้นตอนล่างมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในระดับการจ าแนกดินตั้งแต่วงศ์ดิน
               (family) และชุดดิน (series) เช่น

                              - ชั้นตอนล่างเป็นชั้นดินเหนียว (clayey substratum: csub)
                              - ชั้นตอนล่างเป็นชั้นหินทราย (sandstone substratum: sssub)
                           (4) สภาพพื้นที่หรือสภาพภูมิสัณฐานของดิน (physiography) อาจน ามาใช้เป็นบรรทัดฐานในการ
               แบ่งแยกหน่วยแผนที่ดินเดียวกันออกจากกันได้ เพื่อชี้ให้เห็นถึงสภาพภูมิประเทศหรือลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างไป

               จากสภาพพื้นที่ปกติ (typical physiography) ของดินนั้นๆ เช่น
                              - พบบนพื้นที่สูง (high phase: hi)
                              - พบบนพื้นที่ต่ า (low phase: l)

                              - พบคันดิน (bunded phase: b)

                     หน่วยแผนที่ (map units) หน่วยหรือชื่อที่แสดงถึงลักษณะและสมบัติของขอบเขตที่แสดงในแผนที่
               ซึ่งอาจแสดงลักษณะของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ด เป็นหน่วยเดี่ยวหรือปะปนกันก็ได้ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
               (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2551) ได้แก่

                        1) หน่วยเดี่ยว (consociations) เป็นหน่วยแผนที่ที่ประกอบด้วยหน่วยจ าแนกดินเดี่ยว หรือหน่วยพื้นที่
               เบ็ดเตล็ด (miscellaneous areas) เป็นส่วนใหญ่ โดยอย่างน้อยที่สุดจะต้องมีปริมาณเนื้อที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของ
               พื้นที่ปรากฏอยู่บนแผนที่ในแต่ละขอบเขตหน่วยปะปน (inclusions) ที่เหลือ จะเป็นดินที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

               และมีศักยภาพในการใช้ประโยชน์เท่าเทียมกับหน่วยดินหลักหรือที่เราเรียกว่าดินคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน
               (similar soils) กรณีที่ได้รวมเอาดินที่ไม่คล้ายคลึงกันหรือไม่เหมือนกัน (dissimilar soils) มาไว้ในหน่วยแผนที่
               ดังกล่าว ถ้าลักษณะที่แตกต่างกันนั้นเป็นข้อจ ากัดในการใช้ประโยชน์ที่ดินจะต้องมีพื้นที่รวมกันไม่เกินร้อยละ 15
               ของพื้นที่หน่วยดินหลัก หรือถ้าลักษณะที่แตกต่างกันนั้นไม่เป็นข้อจ ากัดในการใช้ประโยชน์ที่ดินจะต้องมีพื้นที่รวม

               ไม่เกินร้อยละ 25 ของพื้นที่หน่วยดินหลัก
                        2) หน่วยสัมพันธ์ (associations) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปหรือ
               ดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด ซึ่งจะเกิดควบคู่กันเสมอและมีความสัมพันธ์กันในทางสภาพพื้นที่ แต่เนื่องจากข้อจ ากัดเรื่อง
               ของมาตราส่วนแผนที่จึงไม่สามารถแยกขอบเขตออกจากกันได้ โดยปกติจะก าหนดไว้ที่มาตราส่วน 1:24,000 หรือ

               มาตราส่วนเล็กกว่า การให้ชื่อหน่วยแผนที่จะใช้ชื่อดินที่มีเนื้อที่มากเขียนน าหน้า และมีเครื่องหมาย “/” คั่น และ
               ต้องแสดงสัดส่วนของดินหรือที่ดินอื่นๆ ที่พบในขอบเขตนั้นๆ ด้วย เช่น Li/Ws 60/40
                        3) หน่วยเชิงซ้อน (complexes) เป็นหน่วยแผนที่ที่ภายในขอบเขตนั้นๆ มีดินตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปหรือ
               ดินกับพื้นที่เบ็ดเตล็ด เช่นเดียวกับหน่วยสัมพันธ์ แม้ว่ามาตราส่วนของแผนที่จะใหญ่ขึ้น (1:24,000 หรือมาตรา

               ส่วนใหญ่กว่า) ก็ยังไม่สามารถแยกขอบเขตของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดเหล่านั้นออกจากกันได้ อาจเนื่องจากการเกิด
               ความซับซ้อนของพื้นที่ การให้ชื่อหน่วยแผนที่จะใช้ชื่อของดินหรือพื้นที่เบ็ดเตล็ดทั้งหมดที่พบ โดยดินหรือพื้นที่
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31