Page 24 - รายงานการสำรวจและจำแนกดินเพื่อรองรับการประกาศเขตอนุรักษ์ดินและน้ำตามพระราชบัญญัติพัฒนาที่ดิน พ.ศ.2551 : กรณีศึกษาลุ่มน้ำน้ำย่าง จังหวัดน่าน
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          14


                        4) ความลึกของดิน (soil depth) ความหนาของชั้นดินตั้งแต่ผิวดินถึงชั้นที่มีสมบัติขัดขวางต่อการ
               เจริญเติบโตหรือการชอนไชของรากพืช ท าให้พืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ เช่น แนวสัมผัสชั้นหินพื้นแข็ง

               แนวสัมผัสของชั้นหินพื้นอ่อน เศษหิน กรวด ลูกรัง ที่มีขนาดใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร ในปริมาณมากกว่าร้อยละ
               35 โดยปริมาตร ชั้นความลึกของดิน แบ่งได้ 5 ชั้น (ตารางที่ 6) และชนิดของแนวสัมผัสแข็งหรือกึ่งแข็งที่ขัดขวาง
               การเจริญเติบโตของรากพืชที่พบในชั้นความลึกของดิน (ตารางที่ 7)


               ตารางที่ 6 ชั้นความลึกของดิน

                   สัญลักษณ์                          การเรียกชื่อ                         ความลึก (ซม.)
                      d1         ตื้นมาก (very shallow : vsh)                                  0-25

                      d2         ตื้น (shallow : sh)                                           25-50
                      d3         ลึกปานกลาง (moderately deep : md)                            50-100
                      d4         ลึก (deep : d)                                               100-150
                      d5         ลึกมาก (very deep : vd)                                       >150


               ตารางที่ 7 ชนิดของแนวสัมผัสแข็งหรือกึ่งแข็งที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของรากพืชที่พบในชั้นความลึกของดิน

                   สัญลักษณ์                                   ชนิดของชั นขวาง
                       g         ก้อนกรวดหรือเศษหิน
                       c         มวลพอกหรือสารเม็ดกลมของเหล็ก แมงกานีส อะลูมินัม และ/หรือไทเทเนียม

                       k         มวลหรือผงอ่อนของปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต

                        5) การกร่อนดิน (soil erosion) เป็นการแตกกระจาย (detachment) และการพัดพาไป (transportation)

               ของวัสดุดิน ซึ่งอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือโดยมีการกระท าของมนุษย์เป็นตัวเร่ง โดยตัวการกร่อนดินตามธรรมชาติ
               เช่น โดยน้ า (water erosion) หรือโดยลม (wind erosion) ความรุนแรงของการกร่อนแบ่งออกได้ 5 ชั้น (ตารางที่ 8)

               ตารางที่ 8 ชั้นความรุนแรงของการกร่อน


                                                                                         การสูญเสียของชั นดิน
                ชั นการกร่อน  สัญลักษณ์                    การเรียกชื่อ
                                                                                              (ร้อยละ*)
                     1            E0       ไม่มีการกร่อน (non-eroded)                             0

                     2            E1       กร่อนเล็กน้อย (slightly eroded)                     >0-<25
                     3            E2       กร่อนปานกลาง (moderately severe eroded)             25-75
                     4            E3       กร่อนรุนแรง (severe eroded)                          >75

                     5            E4       กร่อนรุนแรงมาก (very severe eroded)                  100

               หมายเหตุ: *ร้อยละการสูญเสียชั้นดิน A และ/หรือชั้นดิน E หรือการสูญเสียดินบน 20 ซม. (ถ้าชั้นดิน A และ/
                         หรือชั้นดิน E ดั้งเดิมมีความหนาน้อยกว่า 20 ซม.)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29