Page 57 - หลักการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน
P. 57

52

                           น้ําที่เปนประโยชนตอพืชมากที่สุด คือน้ําที่อยูในบริเวณรอบๆ รากพืช (Root  zone)  ซึ่งถูกดูดซึม

                  เขาทางรากขนออน (Hair roots) โดยอาศัยแรงดันออสโมติค (Osmotic pressure) ของเซลลราก พืชจะมีการ
                  หมุนเวียนน้ําที่ดูดผานทางรากสูลําตน แลวคายออกทางใบตลอดเวลา อัตราการคายน้ําสูงขึ้นเมื่อมีอุณหภูมิ

                  อากาศแหงแลงและลมพัดแรง พืชจะแสดงความเหี่ยวเฉาก็ตอเมื่ออัตราการคายน้ําสูงกวาอัตราการดูดน้ํา และ

                  พืชจะเหี่ยวเฉาอยางถาวร (Permanent  wilting)  เมื่อรากหมดความสามารถที่จะดูดน้ําขึ้นมาจากดิน นั่นก็
                  หมายความวาความชื้นในดินอยูในสภาวะวิกฤตตอการเจริญเติบโตของพืช พืชใบกวางบางชนิด เชน

                  ขาวโพด ผักกาด เกิดการเหี่ยวเฉาทั้งๆ ที่ดินยังมีความชื้นเหลืออยู ตามปกติในเวลากลางวันที่อากาศรอน

                  พบวาการคายน้ําของพืชมีอัตราสูงกวาการดูดน้ํา แตละกลับตรงกันขามกันในเวลากลางคืน การคายน้ําของ

                  พืชจะตองใชความรอนจํานวน 540 แคลอรี ในการเปลี่ยนสภาพของน้ําจากของเหลวจํานวน 1 ซีซี ให
                  กลายเปนไอความรอนดังกลาวนี้ สวนหนึ่งมาจากพื้นดินที่รับเอาความรอนจากดวงอาทิตยโดยตรง ในกรณี

                  พื้นดินที่มีพืชขึ้นปกคลุมไดแนนหนาและทั่วถึงกัน ความรอนที่ไดรับจากดวงอาทิตยจะลดนอยลงมากจน

                  แทบจะไมเกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในดินบน (Top soil) ความชื้นในดินที่มีอยูจึงไดรับการสงวนไว และ

                  ไมสูญเสียไปโดยกระบวนการระเหยน้ําจากผิวดิน (Evaporation) หรือมีการสูญเสียนอยมาก จึงทําใหอัตรา
                  รวมของการระเหยน้ําและคายน้ํา (Evapotranspiration) ลดลงไปสวนหนึ่ง

                           การระเหยของน้ําในดินโดยความรอนที่มีอยู 3 ทาง คือ ดิน อากาศ และตนพืช จะเห็นไดวา

                  ความชื้นในดิน (Soil  moisture) ซึ่งเปนความชื้นที่เปนประโยชนตอพืชจะระเหยออกไปจากดินไดมากนอย
                  แคไหน และคงอยูในดินไดนานเทาใด ขึ้นอยูกับสิ่งคลุมดิน (Mulching material) ไดแก พืช เศษซากพืช และ

                  วัตถุอื่นๆจะสามารถคลุมดินไดดีเพียงไร

                           ระดับน้ําในดิน (Ground – water level หรือ Water table) มีอิทธิพลตอการเจริญเติบโตของพืช ดิน
                  ที่มีระดับน้ําใตดินอยูตื้น รากพืชจะหยั่งลงในดินไดเพียงระดับของน้ําใตดินเทานั้น การดึงดูดน้ําของรากพืช

                  ในแถบกึ่งรอนและชุมชื้น พืชดูดน้ําไดมากใกลบริเวณผิวดิน และคอยๆ นอยลงตามระดับความลึกของราก

                  สังเกตไดเสมอวาในแถบรอนและชุมชื้น รากพืชมีปริมาณมากบริเวณใกลผิวดิน ซึ่งสามารถดูดความชื้นใน
                  บริเวณนี้ไดอยางพอ ขณะเดียวกับแถบรอนและแหงแลง รากพืชดูดน้ําในบริเวณใกลผิวดินนอยกวาบริเวณที่

                  อยูลึกลงไป ทั้งนี้เพราะความชื้นที่อยูใกลผิวดินถูกระเหย (Evaporate) ไปในอากาศอยางรวดเร็วและปริมาณ

                  มากรากพืชดูดซึมไวไมทัน จึงตองดูดเอาความชื้นที่อยูสวนลึกลงไปซึ่งระเหยจากดินชากวา ดังนั้น ในฤดูแลง

                  พืชที่มีระบบรากตื้น มักจะเหี่ยวเฉาตายและแหงตายเร็วกวา พืชที่มีระบบรากลึกสามารถดูดน้ําจากสวนลึก
                  ของดินไดดีและมีสีเขียวตลอดป โดยทั่วไปแลวน้ําที่พืชดูดเขาไปใชในการเจริญเติบโตมาจาก 4  แหลง

                  ดวยกันคือ

                                    (1) ความชื้นที่ยังมีอยูในดินตามชองวางระหวางเม็ดดิน ความชื้นดังกลาวถามีปริมาณมากพอ
                  พืชก็สามารถนําไปใชได บางพื้นที่อาจจะไดรับเพิ่มเติมจากฝนที่ตกนอกฤดูกาลดวย อยางไรก็ตาม น้ําจาก

                  แหลงนี้พืชดูดเอาไปใชไดไมมากนัก โดยเฉพาะพืชที่มีรากตื้น เพราะดินชั้นบนจะมีการสูญเสียน้ําโดยการ

                  ระเหยจากผิวดินไปไดมากกวาดินชั้นลาง
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62