Page 170 - หลักการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในเขตพัฒนาที่ดิน
P. 170

165

                  พื้นที่อันจํากัดนี้ เกษตรกรสามารถบริหารกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อการเลี้ยงชีพ มีกิน และสรางรายไดตลอด

                  ป โดยไมสงผลกระทบตอสิ่งแวดลอมในระยะยาว
                            การเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม นับไดวาเปนระบบเกษตรที่เนนการจัดสรรทรัพยากรน้ําในไรนา

                  เพื่อสรางผลผลิตอาหารที่พอเพียง และเพื่อการผลิตที่หลากหลาย สําหรับเปนแหลงรายไดที่มั่นคงแก

                  ครัวเรือนเกษตรกร ตลอดจนเปนการแกไขปญหาความยากจน และขาดแคลนทรัพยากรใหบรรเทาลง
                  จนกระทั่งพัฒนาถึงขั้นที่เกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได



                          เหตุผลที่มาของรูประบบการเกษตรทฤษฎีใหม เกิดจากการวิเคราะหปญหาทั่วไป โดยเฉพาะเกษตร

                  ในประเทศไทยมี 2 ปญหาที่สําคัญ คือ
                                   (1)  ปญหาภัยแลงจากการขาดแคลนน้ํา :  เกษตรกรรมไทยมากกวา 70  เปอรเซ็นต อยูนอกเขต

                  ชลประทาน ทําใหกิจกรรมการเกษตรตองอาศัยแหลงน้ําจากธรรมชาติเพียงอยางเดียว ทําใหเสียดุลระบบ

                  นิเวศ ซึ่งการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม ไดมีการวิเคราะหความตองการใชน้ําในฤดูแลง ประมาณ 1,000

                  ลูกบาศกเมตรตอ 1ไร ดังนั้น หากตองการปลูกขาว 5ไรและพืชผักผลไม 5ไร จึงตองมีน้ําเพื่อใช 10,000
                  ลูกบาศกเมตร

                                  (2)  ความไมมั่นคงทางดานอาหารของเกษตรกร :  การเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม  จึงเนนใหมีการ

                  ผลิตขาวไวบริโภคไดตลอดปอยางนอย 5 ไร ก็จะสามารถดํารงชีพอยูได นอกเหนือจากการปลูกขาวแลว ก็ได
                  มีการเสนอใหจัดสรรพื้นที่สําหรับทําการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตวอื่นๆ  เพื่อเปนรายไดเสริมและลดคาใชจาย

                  ในครัวเรือน ดังนั้น ในพื้นที่ที่ถือครองอยูเฉลี่ย 10-15 ไร ควรมีการจัดสรรที่ดินออกเปนสัดสวนดังนี้

                                1)  รอยละ 30  ของพื้นที่  ใหมีการขุดสระน้ําความจุประมาณ 10,000  ลูกบาศกเมตรไวใช
                  ในชวงฤดูแลง และเพาะเลี้ยงสัตวน้ําได

                                  2) รอยละ 30 ของพื้นที่ ใชเพาะปลูกพืชผักสวนครัว หรือปลูกไมผลไมยืนตนเศรษฐกิจ

                                  3) รอยละ 30 ของพื้นที่ ใชในการทํานาหรือปลูกขาว เพื่อสรางความมั่นคงในดานอาหาร
                                  4) รอยละ 10 ของพื้นที่ เปนบริเวณที่อยูอาศัย

                                  โดยสรุปแลว การเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม นับไดวาเปนระบบเกษตรที่เนนการจัดสรรทรัพยากร

                  น้ําในไรนา เพื่อสรางผลผลิตอาหารที่พอเพียงและมีความหลากหลาย สําหรับเปนแหลงรายไดที่มั่นคงแก

                  ครัวเรือนเกษตรกร ตลอดจนเปนการแกไขปญหาความยากจน และขาดแคลนทรัพยากรใหบรรเทาลง
                  จนกระทั่งพัฒนาถึงขั้นที่เกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได



                  วัตถุประสงคของระบบเกษตรทฤษฎีใหม มี 3 ประการ คือ

                                (1)  ความมั่นคงทางดานอาหาร ทําใหมีอาหารเพื่ออุปโภคและบริโภคภายครัวเรือน เปนการพึ่งพา
                  ตนเอง ลดการพึ่งพาจากภายนอก จึงกอใหเกิดความมั่นคงทางดานอาหาร
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175