Page 39 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 39

27


                  กิจกรรมที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น การเลี้ยงสัตว์ควบคู่กับการปลูกไม้ผล แล้วใช้ปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ย
                  บ ารุงดินในการปลูกไม้ผล ส าหรับพื้นที่ระหว่างแถวไม้ผลก็ใช้ปลูกหญ้าส าหรับเลี้ยงสัตว์ด้วย

                         พืชที่แนะน า ได้แก่ มะม่วง ขนุน มะขามหวาน และส้ม พืชไร่ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย
                  ถั่วเหลือง ถั่วเขียง ละหุ่ง งา ฝ้าย อ้อย สับปะรดและแตงโม ส่วนพืชผัก ได้แก่ กะหล่ าปี กะหล่ าดอก
                  ผักกาดต่างๆ พริก มะเขือ และแตงต่างๆ

                         3.1.3 ปัญหาและข้อจ ากัดในการปลูกพืช
                                1) ความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากดินกลุ่มนี้มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติอยู่ใน
                  ระดับปานกลาง และใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการชะล้างพังทลายของดิน อยู่
                  เสมอ จึงสูญเสียหน้าดินอย่างต่อเนื่อง ท าให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงอย่างมาก
                                2) ขาดแคลนน้ า กลุ่มชุดดินนี้พบบริเวณที่สูง ดินเก็บกักน้ าได้น้อย น้ าฝนจะไหลบ่าลงสู่

                  พื้นที่ตอนล่างอย่างลวดเร็ว ถึงแม้เนื้อดินจะเป็นดินเหนียว แต่เมื่อฝนทิ้งช่วงดินจะแห้งเร็วมาก การพัฒนา
                  แหล่งน้ าในพื้นที่มีข้อจ ากัด ดังนั้นการเพาะปลูกจึงอาศัยน้ าฝนเป็นหลัก
                                3) การชะล้างพังทลายของหน้าดิน กลุ่มชุดดินที่ 31 พบในพื้นที่ซึ่งมีความลาดเทตั้งแต่

                  2-20 เปอร์เซ็นต์ ถ้าปลูกพืชในบริเวณที่มีความลาดเทตั้งแต่ 5เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป และเกษตรกรไม่มีการ
                  อนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเหมาะสม จะเกิดการชะล้างพังทลายของดินในระดับปานกลางถึงรุนแรง

                         3.1.4 การจัดการเพื่อให้เหมาะสมในการปลูกพืช

                                1)  การปลูกพืชหมุนเวียน ด้วยระบบที่มีพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชหลัก การปลูกพืช
                  หมุนเวียนที่มีพืชตระกูลถั่วแทรกอยู่ เช่น ถั่วเหลือง-ข้าวโพด หรือ พืชผัก-ถั่วต่างๆ พืชตระกูลถั่วจะช่วยเพิ่ม
                  ธาตุไนโตรเจนแก่ดิน เนื่องจากเชื้อไรโซเบียมในปมรากถั่วสามารถตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศได้ เมื่อไถ
                  กลบซากถั่วลงในดินหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต จะช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนและหมุนเวียนธาตุอาหารอื่นๆ สู่ดิน
                  การพรวนกลบซากพืชยังช่วยท าให้ดินร่วนซุย การระบายน้ าและการถ่ายเทอากาศดีขึ้น

                                2) การปลุกพืชปุ๋ยสด เป็นอีกวิธีการหนึ่งช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพและความอุดม
                  สมบูรณ์ของดิน พืชปุ๋ยสดที่แนะน า ได้แก่ ปอเทือง โสน โสนอัฟริกันและถั่วต่างๆ โดยปลูกพืชปุ๋ยสดเหล่านี้
                  ก่อนการปลูกพืชหลัก 2-3 เดือน แล้วไถกลบลงไปในดินเมื่อพืชปุ๋ยสดออกดอก วิธีการนี้จะช่วยให้ผลผลิต

                  พืชเพิ่มขึ้นและยังช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินอีกด้วย
                                3) การใช้ปุ๋ย เพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินและการเพิ่มผลผลิตของพืชที่ปลูก
                  ส าหรับกลุ่มชุดดินที่ 31 นั้นจ าเป็นต้องใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี เนื่องจากลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว
                  และความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสดจะช่วย

                  ปรับปรุงคุณสมบัติทางด้านกายภาพได้ดีขึ้น โดยใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 1.5-2.0 ตันต่อไร่ ส่วนปุ๋ยเคมี
                  นั้นจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชหลัก ธาตุรองและจุลธาตุที่ดินขาดแคลน จึงควรใช้ตามความจ าเป็น ส าหรับ
                  อัตราและสูตรปุ๋ยที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของดินและพืชที่ปลูก

                         3.1.5 การเตรียมดินส าหรับปลูกพืช

                                1) พืชไร่
                                      1.1) ปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และดินขาดแคลนน้ าในบางช่วง
                                        (1) ไถเตรียมดินปลูกพืชไร่ตามแนวระดับขวางความเทของพื้นที่

                                        (2) ท าคันดินขวางความลาดเทของพื้นที่ช่วยชะลอการไหลบ่าของผิวน้ าที่ผิวดิน
                  เมื่อฝนตกหนัก
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44