Page 38 - ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน : กรณีศึกษาการปลูกข้าวโพดหวาน บ้านท่าพยอม ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี
P. 38
26
บทที่ 3
การตรวจเอกสาร
3.1 กลุ่มชุดดินที่ 31 ชุดดินวังไห (Wang Hai series : Wi)
3.1.1 ลักษณะของกลุ่มชุดดินที่ 31
การจ าแนกดิน : Fine, mixed, active, isohyperthermic Oxyaquic (Ultic)
Paleustalfs
วัตถุต้นก าเนิดดิน : เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินตะกอนเนื้อละเอียดและหินที่แปร
สภาพ เช่น หินดินดาน หินทรายแป้ง หินโคลน หินชนวน หินฟิลไลท์ เป็นต้น บริเวณภูเขา และรวมถึงที่เกิด
จากวัสดุดินหรือหินที่เคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางใกล้ๆ โดยแรงโน้มถ่วงบริเวณเชิงเขา
สภาพพื้นที่ : ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงลูกคลื่นลอนลาด
ความลาดชัน : 2-12 เปอร์เซ็นต์
การระบายน้ า : ดี
การไหลบ่าของน้ าบนผิวดิน : ช้าถึงเร็ว
การซึมผ่านได้ของน้ า : ปานกลาง
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ป่าเบญจพรรณ พืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าว
ไร่ ถั่วต่างๆ และสวนผลไม้ เช่น มะม่วง มะขาม ล าไย
การแพร่กระจาย : ภาคเหนือตอนบนและที่สูงตอนกลางของประเทศ
การจัดเรียงชั้นดิน : Ap(A)-Bt-BC
ลักษณะและสมบัติดิน : เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วน
เหนียวปนทรายแป้ง สีน้ าตาลเข้มถึงสีน้ าตาลปนแดงเข้ม ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง (pH
6.0-7.0) ดินล่างตอนบนเป็นดินเหนียว สีแดงปนเหลืองถึงสีแดง ปฏิกิริยาดิน เป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด
(pH 4.5-5.5) ดินล่างตอนล่างเป็นดินเหนียว สีแดง มีจุดประสีน้ าตาลปนเหลืองและสีน้ าตาล ปฏิกิริยาดิน
เป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ชุดดินที่คล้ายคลึงกัน : ชุดดินบ้านจ้อง
ข้อจ ากัดการใช้ประโยชน์ : สภาพพื้นที่มีความลาดชันสูง ดินชะล้างพังทลายได้ง่าย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ : ปรับปรุงบ ารุงดินด้วยอินทรียวัตถุและใช้ปุ๋ยอินทรีย์
หรือปุ๋ยชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น จัดระบบการปลูกพืชและระบบอนุรักษ์ดินและน้ าให้
เหมาะสมกับสภาพความลาดชันของพื้นที่ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2548ข)
3.1.2 การประเมินความเหมาะสมส าหรับการปลูกพืช
กลุ่มชุดดินที่ 31 มีศักยภาพเหมาะสมในการปลูกพืชไร่และไม้ผลหลายชนิด แต่ไม่เหมาะสมในการ
ท านา เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงเป็นเนินเขา จึงเก็บกักน้ าไว้ปลูกข้าวไม่ได้ อย่างไรก็ตาม
เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือก ในการใช้เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดินซึ่งพบในชั้นความลาดเทต่างๆ จึงจัด
ชั้นความเหมาะสมของดินตามสภาพพื้นที่และความลาดเท การใช้ประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพและให้
ผลตอบแทนสูง ควรเป็น “ระบบการเกษตรผสมผสาน” เช่นปลูกพืชไร่-ไม้ผล-พืชผัก หรือปลูกพืชไร่-ไม้ผล-
หญ้าเลี้ยงสัตว์ หรือผลไม้-หญ้าเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น การเลือกระบบขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แหล่งน้ า ทักษะของ
เกษตรกร ความต้องการผลผลิตของตลาดในท้องถิ่นและนอกท้องถิ่น อย่างไรก็ตามเกษตรกรควรเลือก