Page 27 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับถั่วพร้าต่อการผลิตข้าวโพดฝักอ่อนในชุดดินนครปฐม
P. 27
15
4.2 ปัจจัยที่ส าคัญในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
การพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ให้มีปริมาณธาตุอาหารหลักที่สูงขึ้นจากปุ๋ยอินทรีย์ทั่วไป หรือเรียกว่า
ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงนั้น ปัจจัยที่ส าคัญประการหนึ่ง คือ วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต โดยวัตถุดิบแต่
ละชนิดมีปริมาณธาตุอาหารที่แตกต่างกัน วัตถุดิบที่มีปริมาณธาตุอาหารหลักค่อนข้างสูงนั้นจะพบในเศษ
พืชตระกูลถั่ว ร าของพืชต่างๆ มูลสัตว์ กระดูกป่น เศษปลา และหินแร่
นอกจากนี้วัสดุบางชนิด เช่น หินฟอสเฟต กระดูกสัตว์ มูลค้างคาว และมูลสัตว์ต่างๆ ยัง
ประกอบด้วยธาตุอาหารรอง โดยเฉพาะแคลเซียม ซึ่งจะท าให้ต้นพืชแข็งแรงต้านทานต่อการเข้าท าลาย
โรคพืช นอกจากนี้การใช้วัตถุดิบที่มีธาตุอาหารสูงแล้ว ได้น าจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการแปรสภาพ
แร่ธาตุให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้คัดเลือก และผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สารเร่ง
มาใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงด้วย ได้แก่ สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 เป็นจุลินทรีย์ที่มี
ประสิทธิภาพในการย่อยเซลลูโลสซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของพืช สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 เป็นจุลินทรีย์
ที่ย่อยสลายโปรตีน ไขมัน และละลายฟอสเฟตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายองค์ประกอบของ
อนินทรีย์ไนโตรเจนและไขมัน เพื่อลดการสูญเสียไนโตรเจนในระหว่างกระบวนการหมัก และลดกลิ่น
แอมโมเนีย การน าจุลินทรีย์ที่ละลายอนินทรีย์ฟอสฟอรัส คือ สารเร่ง พด.9 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการ
ปลดปล่อยฟอสฟอรัสของวัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งฟอสฟอรัส เช่น หินฟอสเฟต และกระดูกป่น เป็นต้น
4.3 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
4.3.1 ส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรกรมพัฒนาที่ดิน
ส าหรับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงนั้น กรมพัฒนาที่ดินได้มีการศึกษาวิจัยและ
คัดเลือกชนิดวัตถุดิบที่มีองค์ประกอบของธาตุอาหารหลักของพืชในปริมาณสูง รวมทั้งอัตราส่วนของ
วัตถุดิบในแต่ละชนิด กระบวนการในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและ
ชีวภาพ ซึ่งวัตถุดิบที่มีปริมาณธาตุอาหารสูงที่น ามาใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง สูตรกรมพัฒนา
ที่ดิน ได้แก่ กากถั่วเหลือง ร าข้าว มูลสัตว์ หินฟอสเฟต กระดูกป่น และมูลค้างคาว โดยอัตราส่วนของ
วัตถุดิบในแต่ละชนิดสามารถก าหนดสูตรปุ๋ยได้ 5 สูตร โดยมีปริมาณไนโตรเจน 3-4 เปอร์เซ็นต์
ฟอสฟอรัส 5-9 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1-2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกษตรกรหรือผู้ผลิตสามารถเลือกผลิตได้
ตามปริมาณและชนิดของวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ ดังนี้