Page 234 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแล้งในเขตชลประทาน
P. 234

ผ-11








                                       (4) โรคราน้ําคาง ระยะแรกเห็นจุดสีเหลืองแกมเขียว ทางดานบนของใบ
                       เมื่อพลิกใตใบจะพบเสนใยของเชื้อราเปนสีเทา หรือสีเทาอมมวง ปองกันโดยคลุกเมล็ดพันธุดวย

                       สารเมตาแลกซิล อัตรา 7  กรัมตอเมล็ดพันธุ 1  กิโลกรัม แตไมควรใชสารเคมี นอกจากกรณีที่มี

                       การระบาดอยางรุนแรง
                                       (5) โรคเนาคอดิน/รากเนา เกิดจากเชื้อรา อาการที่พบคือ เมล็ดพันธุถั่วเหลืองไมงอก

                       เมล็ดเนา หรือเมื่อตนถั่วเหลืองงอกโผลพนดิน รากหรือโคนตนอาจจะถูกเชื้อโรคเขาทําตาม

                       ทําใหตนออนหักลมตาย มักพบเกิดเปนหยอมๆ ในบริเวณที่ดินมีการระบายน้ําไมดี  และมีน้ําขัง
                       ปองกันโดยคลุกเมล็ดพันธุดวยสารเมตาแลกซิล ในอัตรา 7    กรัมตอเมล็ดพันธุ  1    กิโลกรัม  หรือ

                       แมนโคเซป  อัตรา 1-2 กรัม  ตอเมล็ดพันธุ 1 กิโลกรัม กอนการปลูก


                                  2) แมลงที่สําคัญและการปองกันกําจัด
                                       (1) หนอนแมลงวันเจาะลําตน เปนแมลงวันขนาดเล็กจะวางไขในเนื้อเยื่อใตใบออน

                       ตัวหนอนจะเจาะชอนไชเขาไปอยูภายในลําตน และใตผิวเปลือก บริเวณโคนตนทําใหถั่วแคระแกร็น

                       ขอสั้นผิดปกติ ปองกันโดยพนสารไตรอะโซฟอสอัตรา 50 มิลลิลิตร ตอน้ํา 20 ลิตร ฉีดพนหลังจาก
                       ตนถั่วเหลืองงอกและมีอายุ 1-7  วัน หรือใชสารอิมิดาโคลพริด 2  กรัมตอเมล็ดพันธุ 1  กิโลกรัม

                       คลุกเมล็ดพันธุกอนปลูก

                                       (2) แมลงหวี่ขาวยาสูบ จะดูดกินน้ําเลี้ยงจากใบถั่ว ทําใหลําตนแคระแกร็นที่สําคัญ

                       คือ เปนพาหนะนําโรคใบยอดยน ฝกผิดปกติ ปองกันโดยใชสารอิมิดาโคลพริด อัตรา 10  มิลลิลิตร
                       ตอน้ํา 20 ลิตร หรือสารไตรอะโซฟอส อัตรา 40 มิลลิลิตรตอน้ํา 20 ลิตร พน 3 ครั้ง เมื่อมีใบประกอบ

                       ชุดที่ 2-3 และระยะหลังออกดอกถึงติดฝกออน

                                       (3) หนอนเจาะฝกถั่ว จะกัดกินดอกและเจาะฝกกัดกินเมล็ดออน ปองกันโดย
                       พนสารไตรอะโซฟอส อัตรา 50 มิลลิลิตรตอน้ํา 20 ลิตร หรือแลมบดาไซฮาโลทริน อัตรา 20 มิลลิลิตร

                       ตอน้ํา 20 ลิตร พน 1-2 ครั้ง  หางกัน 7-10 วัน ในระยะถั่วติดฝกออน

                                       (4) มวนเขียวถั่ว มวนเขียวขาว มวนถั่วเหลือง ตัวออนและตัวเต็มวัยดูดกิน
                       น้ําเลี้ยงจากใบ และฝกออน ทําใหฝกลีบ ปองกันโดยใชสารไตรอะโซฟอส อัตรา 50 มิลลิลิตรตอน้ํา

                       20 ลิตร ฉีดพนในระยะถั่วติดฝกออน

                                       อนึ่ง การใชสารเคมีตางๆ ควรใชกอนการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองฝกสด 15-20  วัน
                       เพื่อปองกันผลตกคางของสารเคมี ถาจําเปนควรใชสารชีวภาพ ในการปองกันและกําจัดโรคแมลง

                       ในชวงระยะเวลาดังกลาว










                       เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจถั่วเหลืองฤดูแลงในเขตชลประทาน    สํานักสํารวจดินและวางแผนการใชที่ดิน
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239