Page 75 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 75

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          69








                  (พรเทพ, 2538) ไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา หรือ แบคทีเรียมีความสามารถในการย่อยสลายสารประกอบเซลลูโลสได้เป็น
                  ส่วนใหญ่ (Mawadza et al., 2000) ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์
                  จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีผลให้การเจริญเติบโตและ
                  ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลง มีค่าความสูงต้นเพิ่มขึ้นคิดเป็น 22.65 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตเพิ่มขึ้นคิดเป็น

                  9.19 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ผลิตภัณฑ์
                                 3)  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รอบที่ 1
                                      จากการประเมินค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยง
                  สัตว์ในตำรับการทดลองวิธีการแบบต่าง ๆ พบว่า ตำรับการทดลองที่ 3 การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์

                  เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในแปลง เพื่อเร่ง
                  การย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 20 วัน ก่อนการหยอดเมล็ด ให้รายได้สุทธิสุงสุด คือ 5,634.50 บาทต่อ
                  ไร่ รองลงมาคือ ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำ อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50
                  ลิตรต่อไร่ ให้รายได้สุทธิ คือ 5,553.59 บาทต่อไร่ ตำรับการทดลองที่ 2 การฉีดพ่นน้ำหมักชีวภาพจากปลา

                  อัตรา 5 ลิตร ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ ให้รายได้สุทธิ คือ 5,380.34 บาทต่อไร่ และตำรับการทดลองที่ 5
                  ผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด. 1 ให้รายได้สุทธิ คือ 4,484.09 บาทต่อไร่ ขณะที่ตำรับควบคุมให้รายได้สุทธิต่ำสุด คือ
                  4,436.44 บาทต่อไร่ ดังตารางที่ 18 และตารางภาคผนวกที่ 4


                  ตารางที่ 18  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รอบที่ 1    หน่วย : บาทต่อไร่

                            ตำรับการทดลอง             ผลผลิต (กก./ไร่)   รายได้     ต้นทุนรวม  รายได้สุทธิ
                   1 = ควบคุม                            932.80         8,675.04  4,238.60      4,436.44

                   2 = น้ำหมักชีวภาพ                     1055.80        9,818.94  4,438.60      5,380.34
                   3 = ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์     1067.00        9,923.10  4,288.60      5,634.50

                       เซลลูเลส
                   4 = ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลส          1058.30        9,842.19  4,288.60      5,553.59
                   5 = ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด.1     943.30         8,772.69  4,288.60      4,484.09



                  หมายเหตุ : ราคาผลผลิตเมล็ดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กิโลกรัมละ 9.30 บาท


                         5.4.3  การเจริญเติบโตและผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลง จากการปลูกรอบที่ 2
                               1) การเจริญเติบโตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากการปลูกรอบที่ 2 (ตารางที่ 19) ดังนี้
                                 1.1) ค่าความเขียวใบ พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่อายุ 30 วัน มีค่าความเขียวใบไม่แตกต่าง

                  กันทางสถิติระหว่างตำรับการทดลอง มีค่าระหว่าง 38.41 - 40.32 (SPAD reading) แต่เมื่อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มี
                  อายุ 60 วัน ค่าความเขียวใบมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยตำรับการทดลองที่ 2 น้ำ
                  หมักชีวภาพ ตำรับการทดลองที่ 3 ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลส ตำรับการทดลองที่ 4 ผลิตภัณฑ์
                  เอนไซม์เซลลูเลส และตำรับการทดลองที่ 5 ผลิตภัณฑ์สารเร่งซุปเปอร์ พด. 1 มีผลให้ค่าความเขียวใบไม่

                  แตกต่างกันทางสถิติ มีค่าระหว่าง 41.25 - 45.09 (SPAD reading) แต่มีค่าสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับตำรับ
                  ควบคุมที่มีค่าต่ำสุด 36.34 (SPAD reading)
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80