Page 79 - รายงาน ผลของการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อเร่งการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ Effect of using biological products for accelerating the degradation of maize stubble
P. 79

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          73








                                                            บทที่ 6
                                                             สรุป


                  6.1  สรุปผลการศึกษา
                         6.1.1  เทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังแบบผงละลายน้ำ กระบวนการผลิต

                  ที่เหมาะสม คือ การเลี้ยงเชื้อรา Corynascus verrucosus 23 เพิ่มปริมาณเชื้อในข้าวเสาไห้ที่เติมสารชักนำใน
                  อัตราส่วน 1 : 1 เพื่อการกระตุ้นการสร้างเอนไซม์เซลลูเลสด้วยสารเซลลาไบโอส 100 มิลลิกรัมต่อลิตร และสาร
                  แล็กโทส 10 เปอร์เซ็นต์น้ำหนักโดยปริมาตร เลี้ยงเชื้อที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 7 วัน โดยใช้มอล
                  โตเดกซ์ตรินความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร เป็นสารปกป้องเซลล์และเอนไซม์เซลลูเลส ผลิตเป็น
                  ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำประกอบด้วยปริมาณเชื้อรา 15.53 log เซลล์ต่อ

                  กรัม และค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลส 0.264 ยูนิตต่อมิลลิลิตร คงความมีชีวิตรอดของเชื้อในผลิตภัณฑ์เก็บ
                  รักษาที่อุณภูมิห้องได้นาน 9 เดือน และคงประสิทธิภาพเอนไซม์เซลลูเลสในผลิตภัณฑ์ได้นาน 7 เดือน และ
                  ผลิตภัณฑ์เอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำประกอบด้วยเอนไซม์เซลลูเลส 0.259 ยูนิตต่อมิลลิลิตร คง

                  ประสิทธิภาพเอนไซม์เซลลูเลสในผลิตภัณฑ์ได้นาน 7 เดือน
                         6.1.2  วิธีและอัตราการใช้ที่เหมาะสมต่อการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนกระจก คือ
                  การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่า
                  กิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสเกิดขึ้นได้เร็วและสูงสุดที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน และการใช้ผลิตภัณฑ์

                  เอนไซม์เซลลูเลสอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีค่ากิจกรรมเอนไซม์เซลลูเลสเกิดขึ้นสูงที่ระยะเวลาการ
                  ย่อยสลาย 20 วัน
                         6.1.3  การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร
                  ต่อไร่ อย่างต่อเนื่อง 2 รอบการปลูก มีผลต่อการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในสภาพแปลงเกิดขึ้นเร็วสุด

                  ที่ระยะเวลาการย่อยสลาย 10 วัน มีน้ำหนักแห้งที่เหลืออยู่ของเศษพืช 55.38 เปอร์เซ็นต์ มีค่าสูงกว่าการไม่ใส่
                  ผลิตภัณฑ์ คิดเป็น 29.54 เปอร์เซ็นต์ และในช่วงแรกมีอัตราการสลายตัว (k1) 0.605 เกิดขึ้นเร็วสุด และช่วงที่
                  2 มีอัตราการสลายลดลง (k2) 0.018
                         6.1.4  การใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเร่งการย่อยสลายตอซังแบบผงละลายน้ำ เพื่อย่อยสลายตอซังข้าวโพด

                  เลี้ยงสัตว์ สามารถเพิ่มการสะสมอินทรียวัตถุในดินเป็น 2.90 เปอร์เซ็นต์ จากดินก่อนการทดลอง 2.50
                  เปอร์เซ็นต์ มีค่าเพิ่มขึ้นคิดเป็น 16.0 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้นคิดเป็น 83.75
                  เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนการทดลอง และการใส่ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสอัตรา
                  100 กรัม ต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่ มีการสะสมปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเพิ่มขึ้นคิดเป็น 39.36

                  เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดอื่น ๆ
                         6.1.5  การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ผสมเอนไซม์เซลลูเลสแบบผงละลายน้ำอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตร
                  ต่อไร่ ในการย่อยสลายตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 10 วัน ก่อนการปลูก มีผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิต
                  ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงสุด 1,286 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นคิดเป็น 13.12 เปอร์เซ็นต์ และให้รายได้

                  สุทธิเฉลี่ยสูงสุด 7,671.20 บาทต่อไร่ เพิ่มขึ้นคิดเป็น 21.12 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ผลิตภัณฑ์
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84